Page 227 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 227
209
สลับกันมา ด้วยเหตุด้วยปัจจัย อะไรคือเหตุ ? อะไรคือปัจจัย ? ก็ย้อนมา ที่เดิมอีก... ความอยาก ความปรารถนา ความต้องการของเรา อยากให้เขา หยุด เขาไม่หยุด ก็ปรุงต่อ อยากให้เขาหาย เขาไม่หาย ก็คิดต่อ อยากให้ เขาดับ เขาไม่ดับ ก็กังวลอีก แล้วความกังวลก็นามาซึ่งความคิดเรื่องอื่น ๆ ต่อไป เป็นเหตุเป็นปัจจัยสืบเนื่องกันตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น เมื่อมีความคิดเกิดขึ้น แล้วเราไม่กังวลกับความคิด แต่ มีสติพร้อมที่จะกาหนดรู้อาการเกิดดับของความคิด เราก็จะเห็นว่า ความคิด ที่เกิดมา เกิดแล้วดับในลักษณะอย่างไร ความไม่เที่ยงของความคิดหรือ ทุกขลักษณะ ลักษณะที่บอกให้รู้ว่าตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้นั้นเป็นอย่างไร เกิดขึ้นแล้วต้องหมดไป มีแล้วหายไปนั้นเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงบอก ว่าวิปัสสนาสาคัญอยู่ที่การพิจารณาลักษณะอาการเกิดดับของอารมณ์ต่าง ๆ
มีอยู่อย่างหนึ่งที่โยคีต้องพึงระลึก หรือพึงจาเอาไว้เสมอว่า การที่เรา เจริญวิปัสสนานั้น ในขณะที่กาหนดอารมณ์ต่าง ๆ ขอให้เรารู้ชัดว่าเรากาลัง กาหนดอาการเกิดดับของอารมณ์อะไรในเบื้องต้น เขาเรียกว่า “อารมณ์หลัก” อย่างเช่น พอหลับตาลงปุ๊บ อาการเต้นของหัวใจมันชัดขึ้นมาก่อน เขาเรียก เป็น “อาการเกิดดับที่รูป” บริเวณรูปตรงนี้ มีอาการเกิดดับ มีอาการเต้น ๆ ให้รู้ว่าเรากาลังตามรู้อาการเต้นของหัวใจ อาการเต้นนั้น เขาเต้นแล้วดับหาย เต้นแล้วดับหาย หรือเต้นแล้วมีเศษไม่ขาดจากกัน หรืออาการเต้นของหัวใจ เร็วขึ้น ถี่ขึ้น หรือช้าลง ตรงนี้คือสังเกตอาการเกิดดับของรูป
ถ้าเราบอกได้ว่า ขณะที่ตามกาหนดรู้อาการเต้นของหัวใจ แล้วอาการ เต้นของหัวใจจากช้า ๆ เปลี่ยนเป็นเร็วขึ้น เร็วขึ้น บางลง บางลง แล้วก็หาย ไปเลย ว่างไปเหมือนหยุดหายใจ ถ้าบอกได้ว่า ขณะนั้นอารมณ์หลักในการ เจริญวิปัสสนาคืออาการเต้นของหัวใจ ก็จะดี! จริง ๆ แล้ว ที่เรียกว่าอาการ เต้นของหัวใจก็คืออนุมานเอา ทาไมถึงเรียกว่า “อนุมาน” ? เพราะขณะที่รู้สึก ถึงอาการเต้นตึบ ๆ ๆ ถามว่า มีรูปร่างของหัวใจไหม ? ไม่มีนิมิตของความ