Page 229 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 229

211
ที่อาการเป็นหลัก สมมติ มีอาการเกิดดับเกิดขึ้นมาอยู่ข้างหน้าเรา ถ้าเห็นว่า จิตเรากับอาการเกิดดับแยกส่วนกันเมื่อไหร่ แล้วจิตนิ่ง ๆ คอยดู แล้วก็จ้อง สังเกตไหม นิ่งนิดหนึ่ง พอเราเพ่งปุ๊บ กลายเป็นจ้องหรือเพ่งไป แต่ถ้าให้จิต เรา “เข้าไปที่อาการ” ตรงนี้อาการเพ่งจะหายไป เพราะฉะนั้น ถ้าเราตามไป ใกล้ ๆ แล้วจิตเราเข้าถึงอาการ อาการเพ่งอาการจ้องจะหายไป และเข้าถึง เมื่อไหร่ อาการเขาก็เปลี่ยน ตรงนั้นแหละ
เวลาเรามุ่งเข้าไป เป็นธรรมดาอยู่เองว่าต้องใช้กาลัง บางครั้งจิตเรา ไม่มีกาลังพอที่จะเข้าไป แล้วเราก็จะรู้สึกว่าต้องใช้กาลังสติมากขึ้น กาลังสมาธิ มากขึ้น วิธีใช้กาลังน้อยที่สุดก็คือ ให้รู้สึกถึงอาการนั้นเลย สบาย ๆ แล้วรู้สึก เข้าไปที่อาการนั้น อาการนั้นเขาจะเปลี่ยน เหมือนตอนนี้ พอเรานั่งปุ๊บ เรา รู้สึกถึงมือ จิตเราไปที่มือทันทีไหม ? แต่ถ้าเราหันมามองมือเมื่อไหร่ ลองดู ว่า จิตเราอยู่ที่มือ หรือสายตาอยู่ที่มือ ? ถ้าเรารู้สึกถึงที่มือปุ๊บ ก็จะรู้สึกถึง บริเวณมือว่ารู้สึกเป็นอย่างไร เรารู้สึกได้ทันที ถ้าเรารู้สึกแบบนี้ปุ๊บ สติเราจะ อยู่ที่อาการโดยที่ไม่ต้องใช้กาลังเยอะ
การกาหนดอารมณ์ ที่บอกว่าเราตามรู้อารมณ์ให้ได้ในปัจจุบันขณะ จริง ๆ ให้สติหรือจิตเราอยู่ที่เดียวกับอาการ พอเราสนใจที่มือ จิตเราไปที่มือ ไหม ? ไปทันที ใช่ไหม ? ต้องผลักเขาไหม ? ไม่ต้องดันไม่ต้องผลัก แต่สังเกต ไหม เวลาเรากาหนดอารมณ์ พอเห็นอาการพองยุบ หรืออาการเกิดดับอยู่ข้าง หน้า เราพยายามจะผลักตัวเองเข้าไป ดันตัวเองเข้าไป เลยต้องใช้กาลังเยอะ
แต่ถ้าเราปล่อยความรู้สึกสบาย ๆ เข้าไปที่อาการ จิตก็จะเข้าไปถึง อาการทันที เขาก็จะเปลี่ยน ไม่ใช่เข้าไปแล้วแช่อยู่นะ ต้องเข้าใจว่าการเอา สติหรือจิตของเราเข้าไปที่อาการ ไม่ใช่แช่อยู่กับอาการ แต่เข้าไปแล้วอาการ เปลี่ยนไปอย่างไร หรือเกิดดับในลักษณะอย่างไร ต้องสังเกตตรงนี้ ถ้าไม่ สังเกตแบบนี้ เราก็จะรู้สึกว่าจับไม่ทัน จับไม่ทัน... พอจับทันปุ๊บ อ้าว! หลุด แล้ว! อยากจะเกาะแล้วจับให้อยู่


































































































   227   228   229   230   231