Page 230 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 230
212
บางคนรู้สึกว่าเมื่อกาหนดพองยุบ ต้องอยู่กับพองยุบให้แน่วแน่ แล้ว จับมันเอาไว้ ห้ามหลุด! ห้ามหลุดคือห้ามปล่อย เราก็ยึดพองยุบโดยไม่สังเกต ว่าพองยุบเขาเกิดดับอย่างไร แต่จะยึดพองยุบเอาไว้อย่างเดียว ให้สติอยู่กับ พองยุบอย่างเดียว ที่จริงแล้วคือ เราเข้าไปกาหนดรู้อาการเปลี่ยนแปลงอาการ เกิดดับของพองยุบ ก็เหมือนอาการเต้นของหัวใจที่พูดเมื่อกี้แหละ พอพอง ยุบหมดไปหายไป มีอะไรเกิดขึ้นมา ? พอพองยุบหายแป๊บเดียว ยังไม่ทัน ไรเลย ความคิดเข้ามาเยี่ยมอีกแล้ว! ก็กลับมารู้ความคิดต่อ ความคิดที่เกิด ขึ้นต้องแยกประเภทอย่างหนึ่งว่า ความคิดสัพเพเหระ กับความคิดที่เป็น กุศลหรือความคิดที่เป็นอกุศล
ลองสังเกตดูนะ บางครั้งจิตเราเป็นกุศลอยู่ดี ๆ แต่มีสัญญาที่เป็น อกุศลปรากฏขึ้นมา เมื่อสัญญาที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ถามว่า จิตเราจาเป็นต้อง เป็นอกุศลด้วยไหม ? ไม่จาเป็น เรื่องราวในอดีต เรื่องวิบากกรรม เรื่องเก่า ๆ ในอดีตที่เคยทาให้เราทุกข์ เขาเรียกเป็น “สัญญาที่เป็นฝ่ายอกุศล” พอดูปุ๊บ พอระลึกขึ้นมาใหม่ จิตเรากลับเป็นความสงบ มีความผ่องใส แล้วทาหน้าที่ รู้เรื่องราวนั้น กลายเป็นจิตเป็นกุศล แม้สัญญาเป็นฝ่ายอกุศล เพราะฉะนั้น ต้องแยกนะ ไม่ใช่คิดแล้วไม่ดีทั้งหมดเลย
ถ้าเราไม่สังเกตจิตแบบนี้ เราจะรวมกันเลย ความคิดก็คือเรา คิดทุก ครั้งรสชาติจะเกิด คิดทุกครั้งก็จะทุกข์ทุกครั้ง แต่ถ้าเราพิจารณาอย่างนี้ แยก ระหว่างเรื่องที่คิดกับจิต เป็นคนละส่วนกัน เราจะแยกได้ว่า จิตที่ทาหน้าที่รู้ กับเรื่องที่คิด เขาต่างกันอย่างไร เหมือนกับที่เรากาหนดเวทนา เวทนาทาง กายเป็นทุกขเวทนา แต่เวทนาทางจิตกลับเป็นความผ่องใส หรือเป็นความสุข เกิดปีติ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น มีอุเบกขาเวทนาปรากฏขึ้น ไม่ได้เป็นทุกขเวทนา ตามอาการทางร่างกาย
อีกอย่างหนึ่ง ความคิดที่เกิดขึ้น โยคีมักจะเข้าใจว่ากาหนดแล้วต้อง ไม่คิดอะไรเลย แม้แต่การพิจารณาธรรมก็ต้องไม่มี คาสั่งที่เตือนตัวเองอยู่