Page 232 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 232
214
เกิด แล้วจะไปอยู่ตรงไหนดี ? เหมือนคนเรากลัวติดอาหาร ขณะที่หิวมาก ๆ ร่างกายจะหมดแรง แต่พอเห็นอาหารตั้งอยู่ข้างหน้า น่าอร่อยมากเลย จะ ตักก็ไม่กล้า กลัวติดอาหาร! นาน ๆ ไปจะเป็นอย่างไร ? รออีกหน่อยเราก็ หมดแรง ใช่ไหม ?
จิตที่เป็นกุศลก็เหมือนกัน เป็น “อาหาร” ของจิตเรา ความเป็นกุศล หรือบุญที่เกิดขึ้น ความปีติที่เกิดขึ้นจากสภาวธรรม ความสุขที่เกิดขึ้นจาก ความว่าง ความผ่องใสของจิต เป็นอาหารของจิตเรา ทาให้จิตเรามีพลัง มากขึ้น สังเกตดูสิ เมื่อไหร่ก็ตามที่จิตเราผ่องใส ตื่นตัว แล้วก็อิ่ม ความขยัน ในการปฏิบัติก็เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ พร้อมที่จะทางาน เขาเรียก “เป็นจิต ที่ควรแก่การงาน”
การงานคืออะไร ? ทาได้ทุกอย่าง! ถ้าคนเรามีความอิ่ม ความสบายใจ อย่างนั้น ให้ทาอะไรก็ทา! แต่ถ้าเราปฏิบัติธรรม ก็ทากิจของเราให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เดินจงกรม นั่งสมาธิ ปฏิบัติวิปัสสนา พิจารณาอาการพระไตรลักษณ์ อาการเกิดดับของรูปนามไป ตรงนั้นก็จะได้ประโยชน์ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น จึง ต้องพิจารณาให้ดี แล้วเราจะได้เข้าใจว่า เรื่องไหนบ้างที่ควรคิด เรื่องไหนบ้าง ที่ไม่ควรคิด ถ้าคิดแล้วทาให้สติเราอ่อน ไม่ควรคิด! คิดแล้วทาให้จิตเราไม่ดี ไม่ควรคิด! คิดแล้วปัญญาเราเกิด ก็คิด!
“แต่” ยังมีแต่อีก...ความคิดนี่ซับซ้อนนะ แต่ว่าขณะที่เรากาลังมุ่ง ไปรู้อาการเกิดดับที่กาลังปรากฏอยู่เฉพะหน้า ถ้ามีความคิดเข้ามาแทรก ให้ บัญญัติเข้ามาใส่ เอาชื่อเข้ามาใส่เมื่อไหร่ ให้ “ตัดชื่อ” ออกไปก่อน ให้รู้ตาม อาการที่เป็นจริง ยังไม่ต้องคิดหรอก สิ่งที่ต้องทาก็คือว่า ให้สติเรามุ่งต่อไปว่า อาการเกิดดับต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร อาการเกิดดับที่กาลังปรากฏอยู่เปลี่ยน ไปอย่างไร ไม่ต้องไปสงสัยว่าอันไหนคือรูป อันไหนคือนาม อันนี้เป็นอาการ เกิดดับของรูปหรือเปล่า หรือว่าเป็นอาการเกิดดับของนาม...
ให้มี “สติ” เข้าไปรู้ “อยู่ที่เดียวกันกับอาการ” หรือตามให้ทัน แล้วรูป