Page 228 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 228

210
เป็นรูปร่างของหัวใจเลย ตรงนั้นมีเพียงอาการที่กาลังปรากฏอยู่ เมื่อไหร่ที่เราไปเห็นรูปร่างของหัวใจ แสดงว่าสายตาดีมากเลย มอง ทะลุไปเห็นว่าหัวใจมันเต้นแบบนี้ แต่สังเกตไหมว่า เวลาเรากาหนดรู้อาการ เต้นของหัวใจ ทาไมเขาไม่เป็นจังหวะเดิมตลอดเวลา ? ทาไมมีเร็วบ้าง ช้าบ้าง จังหวะเดียวบ้าง ๒ จังหวะบ้าง ๓ จังหวะบ้าง ? ลักษณะอาการเกิดดับตรง นี้ บางครั้งเหมือนกับเราเห็นอาการเต้นครั้งเดียว แต่พอสติเรามีกาลังมากขึ้น ขณะที่เขาขยับทีเดียว มีอาการเกิดดับเป็นขณะ ๆ ๆ แล้วก็หายไป เราเห็น ว่าในขณะเดียวยังมีอาการเกิดดับอยู่ในนั้นอีกตั้งหลายขณะ ถามว่า เราเห็น
ได้อย่างไร ? รู้สึกได้อย่างไร ?
ถ้าถามว่ารู้ได้อย่างไร ต้องย้อนกลับมาดูจิตของเราว่า จิตของเรา
หรือสติของเราในขณะนั้นเป็นอย่างไร มีความสงบ มีความใส มีความตื่น ตัวมากน้อยแค่ไหน ตรงนี้เป็นตัวบ่งบอกว่าจิตเรามี “กาลัง” แค่ไหน อาการ เหล่านั้นถึงปรากฏให้เห็นในลักษณะอย่างนั้น ทีนี้ ความต่อเนื่องของอารมณ์ ก็คือ ถ้าอาการเต้นของหัวใจหมดไปแล้ว อารมณ์อะไรปรากฏต่อจากอาการ เต้นของหัวใจ ? เป็นความว่างไปชั่วขณะหนึ่ง หรือมีอาการเกิดดับใหม่ ปรากฏขึ้นมาข้างหน้า... อาจจะเป็นจุดเล็ก ๆ แล้วพุ่งออกไป หรือพุ่งเข้ามา หาตัว หรือมีแสงใส ๆ วาบเข้ามา สว่างวาบ วาบ วาบ นั่นก็คืออาการเกิดดับ
ถ้าบอกอย่างนี้ได้ เรารู้ว่าเป็นอาการเกิดดับของอะไร และถ้าบอกว่า เกิดดับในลักษณะอย่างนี้ไปสักพัก ก็สังเกตแบบเดียวกันนั่นแหละ ยิ่งเรามุ่ง เข้าไปหรือจดจ่อกับอาการนั้นมากขึ้น อาการเกิดดับนั้นเปลี่ยนไปอย่างไร คา ว่า “จดจ่อ” กับ “การเพ่ง” โยคีจะกังวลนิดหนึ่ง กลัวจะเป็นการเพ่งการจ้อง มากไปหรือเปล่า เพราะเคยจ้องแล้วปวดหัว ใช่ไหม ? พอมีอาการเกิดดับขึ้น มา แล้วเราไปเพ่ง คอยจ้องคอยดู ทาให้มีอาการเคร่งตึง แล้วก็มึน
วิธีการกาหนดรู้แบบไม่จ้อง คือ ให้ “รู้สึกทันที” ถ้าเรามุ่งเข้าไปที่ อาการ ไม่ต้องห่วงว่าจะจ้องหรือไม่จ้องในขณะนั้น ให้มีเจตนาเอาสติเราเข้าไป


































































































   226   227   228   229   230