Page 259 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 259

สติกับปัญญา
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่โยคีทุก ๆ คน นั่งตามสบายนะ เมื่อ คืนพูดเสียลึกจนตามไม่ทัน งั้นเราพูดแบบธรรมดา ๆ นะ จะได้ไม่ลึกเกินไป ธรรมะไม่ใช่ของตื้น ๆ ธรรมะเป็นของลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณา ให้เยอะ จริง ๆ แล้วก็คือพูดตามสภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นกับโยคีนั่นแหละ เพียงแต่ทบทวนให้รู้ว่า เวลาเราปฏิบัติ สิ่งที่เราต้องทาคืออย่างไร สังเกตตรง ไหนบ้าง ทันไม่ทันไม่เป็นไร ให้รู้แนวทาง ให้รู้หลักการในการเจริญวิปัสสนา กรรมฐาน ว่าเวลาเราดูกายในกายนั้น รู้แบบไหน หรือต้องการรู้อะไร รู้แล้ว เป็นอย่างไร นั่นแหละคือเป้าหมายของการปฏิบัติ
บางทเี ราบอกวา่ เราเจรญิ สตปิ ฏั ฐาน ๔ ดกู ายในกายอยา่ งเดยี ว สงั เกต ไหม เราดูกายในกายอย่างเดียว ยังไม่ต้องดูจิต เราก็เห็นแค่กายอย่างเดียว แต่ในขณะเดียวกัน เอาอะไรดูกาย ? ก็จิตนั่นแหละดูกาย เกิดขึ้นพร้อมกัน ในขณะนั้นทันที จิตของเรานั่นแหละทาหน้าที่รู้อาการของกาย ของพองยุบ แล้วผลที่เกิดขึ้น เกิดกับอะไร ? ก็เกิดกับจิตนั่นแหละ เขาก็ปรากฏขึ้นขณะ นั้นทันที เหมือนกับเรามีสติอยู่ในกาย แล้วใจเรารู้สึกตื่นตัว ผ่องใส เบิก บาน... เรารู้ได้อย่างไรว่าผ่องใสเบิกบาน ? ก็คือไปรู้ที่จิตนั่นเอง เราเห็นได้ ว่าจิตเราเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนนั้ แคส่ งั เกตสภาวะทกี่ า ลงั ปรากฏขนึ้ มาเทา่ นนั้ เอง ดรู ปู นาม ที่กาลังปรากฏเป็นอยู่ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ว่าเป็นอย่างไร เหมือนเรานั่งอยู่ตรงนี้ ลองดูสิ ขณะที่นั่งอยู่... ถ้าไม่บอกก็ไม่ทา! มาปฏิบัติธรรมถ้าไม่บอกก็ไม่ทา จริง ๆ น่าจะรู้นะ หน้าที่ของเรา ไม่ต้องบอกหรอก ถามได้เลย ขณะนี้ใจรู้สึก เป็นอย่างไร ? ลองดูว่า ใจเราขณะนี้ ใหญ่กว่าตัวหรือเล็กกว่าตัว ? ใหญ่กว่า นะ ลองดู ใจที่ใหญ่กว่าตัวรู้สึกอย่างไร ? รู้สึกโล่งนะ ทีนี้ทบทวนอีกนิดหนึ่ง...
241


































































































   257   258   259   260   261