Page 261 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 261
243
ทีนี้ก็มาถึง “โอปนยิโก” เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว จะน้อม “อะไร” เข้ามาใส่ตัว ? น้อมเข้ามาแล้วไม่ทุกข์ น้อมเข้ามาแล้วความทุกข์ไม่เกิด... นึกออกไหม ? นึกออกแล้วนะ เพราะฉะนั้น น้อมเข้ามาใส่ตัวบ่อย ๆ ถ้าให้ จิตที่ว่าง จิตที่เบา จิตที่ไม่มีตัวตนเกิดขึ้นกับตัวเองบ่อย ๆ ลองดูว่า สภาพ จิตใจเราจะเป็นอย่างไร ? สิ่งเหล่านี้น้อมให้เกิดขึ้นกับใจของเรา “ปัญญา” ตรงนี้ เห็นถึงความไม่มีตัวตนบ่อย ๆ เห็นถึงจิตที่ว่าง เห็นถึงจิตที่กว้างบ่อย ๆ แล้วเอาจิตที่ว่างมาทาหน้าที่รับรู้อารมณ์บ่อย ๆ แล้วลองดูว่า สภาพจิตใจ เราจะเป็นอย่างไร ?
ถ้าเราน้อมเข้ามาใส่ตัวบ่อย ๆ สาเหนียกไว้ในใจของเรา พึงระลึกอยู่ เสมอว่าเราจะใช้จิตที่ว่าง ไม่มีตัวตน ทาหน้าที่รับรู้ หรือจะรับรู้ทุก ๆ อารมณ์ ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน ไม่มีเรา มีแต่ “สติ” กับ “ปัญญา” ที่พิจารณารู้ ถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นมาทางทวารทั้ง ๖ เราจะได้เข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุก สิ่งทุกอย่างก็เป็นไปอย่างนั้นแหละ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
อย่างเช่น เวลาเราได้ยินเสียง เราก็ต้องเข้าใจว่า เพราะเรามีหู หูเรา ดี เราก็ต้องได้ยินเสียงเป็นธรรมดา เวลาได้ยินเสียงที่ชอบไม่ชอบก็ตาม เป็น เรื่องปกติ ถ้าไม่อยากได้ยินเสียง ก็ปิดหูเสีย หรือไม่ก็เดินหนีเสีย! โชคดีแล้ว ที่หูได้ยิน ถ้าเกิดหูไม่ได้ยินจะเป็นอย่างไร ? ถ้าประสาทหูไม่ดีแล้วไม่ได้ยิน ก็กังวลอีก แย่แล้ว! หูชักไม่หย่อนแล้ว เริ่มตึงแล้ว ไม่ค่อยได้ยินแล้ว ก็จะ วุ่นวายไปอีกแบบหนึ่ง หูได้ยิน เป็นสิ่งที่ดีแล้ว! เพราะประสาทหูดี ตายังเห็น อะไรได้ชัด เป็นสิ่งที่ดีแล้ว! เพราะประสาทตาเราดี
นั่นหมายถึงว่าเราสร้างมาดี รูปนามขันธ์ ๕ นี้สร้างมาดี ลิ้นดี จมูก ดี ได้กลิ่นชัดเจน เป็นสิ่งที่ดีแล้ว! เหลืออย่างเดียวที่ต้องทาให้ดีคือ “มีสติให้ ดี” พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ถ้าเรามีสติดี ใจเราดี เราก็จะเห็น สิ่งที่ดี ๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา อารมณ์เหล่านั้นเกิด ขึ้นตามธรรมชาติ อะไรเกิดขึ้นมา เราก็จะรู้สึกว่า อ๋อ! ดีแล้ว เขาเกิดขึ้นมา