Page 262 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 262

244
ให้เราได้เห็น ให้เราได้เรียนรู้ ดูว่าเขาเป็นอย่างไร ธรรมชาติเป็นอย่างนี้เอง ไม่มีเรา บังคับบัญชาเขาไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไปอยู่เนือง ๆ เปลี่ยนจากอารมณ์หนึ่งไปสู่อีกอารมณ์หนึ่ง
คิดดูสิ ขณะที่เราฟังเสียง จิตจดจ่ออยู่ที่เสียง ก็ลืมดูสภาพจิตตัวเอง ใช่ไหม พอมาดูสภาพจิต เสียงก็หายไป ทีนี้ฟังแล้วให้เห็นทั้ง ๒ อย่าง ก็คือ ให้จิตเรากว้าง ๆ กว้างกว่าเสียง เราเห็นว่าเสียงอยู่ในที่ว่าง จิตก็ว่าง เสียง ก็ได้ยิน ฟังก็เข้าใจ การที่เราทาใจของเราให้กว้าง ๆ การรับรู้อารมณ์ก็จะ ได้หลายอารมณ์ในเวลาเดียวกัน พอเราทาแบบนี้ ให้ใจเรากว้างกว่าอารมณ์ กว้างกว่าเสียงที่ได้ยิน สังเกตดู เสียงที่ได้ยิน รู้สึกเป็นอย่างไร ? หนักหรือ เบา ? เสียงนั้นอยู่ที่ไหน ? (โยคีกราบเรียนว่า เสียงตั้งอยู่ในความว่าง) แล้ว ตัวเรานั่งอยู่ที่ไหน ? (โยคีกราบเรียนว่า อยู่ในความว่าง) อย่าตอบตามความ คิดนะ ให้ตอบตาม “ความรู้สึก”
จริง ๆ การปฏิบัติแบบนี้ เราสามารถไล่สภาวะได้เลย พอถามปุ๊บ รู้สึกทันที! เราจะรู้ได้เร็วต่อเมื่อ พอถามปุ๊บ เราดูจิตเราว่ารู้สึกอย่างไร นี่คือ การไล่สภาวะตาม ยกตัวอย่างเสียง บางคนบอกว่าเสียงอาจารย์ฟังได้แหละ แต่เสียงคนอื่นฟังไม่ได้ มีเงื่อนไขอีก! ที่จริง เพราะอะไร ? เพราะเราไปให้ ความสาคัญว่า เสียงคนนั้นเสียงคนนี้ เอาความรู้สึกว่าเป็นคนนั้นออก ให้ เหลือแค่เสียง ให้รู้ว่าเป็นเสียง ๆ หนึ่งเท่านั้นเอง
ลองดูนะ เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออก แล้วรู้สึกเป็นอย่างไร ? เอา ความรู้สึกว่าเป็นเราออกจากตัว ให้ไปอยู่ไกล ๆ ใจเรารู้สึกเป็นอย่างไร ? ขณะที่ฟังเสียง ได้ยินว่าเป็นเสียงอาจารย์ เอาความรู้สึกว่าเป็นอาจารย์ออก รู้สึกเป็นอย่างไร ? รสชาติหายไปไหม ? เสียงที่ได้ยิน รู้สึกเป็นอย่างไร ? อันนี้อาจารย์ทบทวนของเก่านะ เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออกได้แล้ว จิตใจเรา รู้สึกสบายไหม ? ทบทวนอีกนิดหนึ่ง ลองนึกถึงเรื่องที่ไม่สบายใจ รู้สึกเป็น อย่างไร ? หนักนะ...


































































































   260   261   262   263   264