Page 260 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 260

242
โยมไม่ทันเหรอ ? ยิ้มนี่แบบว่าฉันไม่แน่ใจ ? เวลายิ้ม ใจรู้สึกเป็น อย่างไร ? สบายใจ... เห็นไหม ใคร ๆ ก็รู้ได้ ไม่ต้องคิดมาก ใช่ไหม ? เวลา เราสบาย เราก็รู้สึกสบาย เวลาเราทุกข์ ต้องคิดไหมว่า อันนี้เรียกว่าทุกข์ ? ไม่ต้องเลยนะ เวลาทุกข์หน้าดาคร่าเครียด อึดอัด กระสับกระส่าย ไม่ต้อง บอกเลยว่าอันนี้คือทุกข์ แต่นั่นคือทุกข์! เวลาผู้ใหญ่เป็นทุกข์กับเด็กเป็นทุกข์ อาการเดียวกันไหม ? รสชาติเดียวกัน แต่เรียกต่างกัน เด็กเป็นทุกข์ก็ร้องไห้ ไป ผใู้ หญเ่ ปน็ ทกุ ขก์ ร็ อ้ งไหย้ ากนดิ หนงึ่ กลวั คนเหน็ ! บางทกี ลนั้ ไมอ่ ยกู่ ร็ อ้ งไห้ ไป แต่ผู้ใหญ่บอกได้ว่า ฉันทุกข์จังเลย! ถึงไม่ร้องไห้ก็มีความทุกข์...
ทุกข์บอกได้อย่างไร ? มันหนัก อึดอัด เร่าร้อน ไม่ปลอดโปร่ง เพราะ ฉะนั้น เวลามีความทุกข์ เราก็รู้สึกได้ อ๋อ! ทุกข์เป็นอย่างนี้เอง ทุกข์ คือ ความ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เขาแปลตรง ๆ เลยนะ ทุกข์ คือ ความไม่สบาย กาย ไม่สบายใจนั่นเอง ทุกข์หน้าตาเป็นอย่างไร ? แล้วเราก็มานั่งปฏิบัติ เขา บอก “ถ้าเห็นทุกข์ จะได้เห็นธรรม” เราก็นั่งหาทุกข์อย่างเดียว! ทาไมถึงนั่ง หาทุกข์ ? แสดงว่าเราไม่ทุกข์ ถึงต้องหาทุกข์ ใช่ไหม ? มองข้ามความดีตัว เองเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ต้องดูว่าปัจจุบันสภาพจิตใจเรารู้สึกอย่างไร รู้สึก เบา รู้สึกโล่ง
เวลาเราปฏิบัติธรรม เรากาหนดลมหายใจเข้าออก กาหนดพองยุบ หรือกาหนดอะไรก็ตาม เพื่ออะไร ? เพื่อไม่ให้ยึดกับอารมณ์เหล่านั้น เมื่อไม่ ยึดแล้ว จิตจะเป็นอย่างไร ? นี่แหละคือสิ่งที่ต้องสังเกต จิตที่ไม่ยึดกับอาการ ของรูปนามแล้ว มีลักษณะอย่างไร พิสูจน์เหมือนเมื่อกี้ ลองดู ให้จิตเรา กว้าง ๆ ปุ๊บ รู้สึกอย่างไร ? เบา ขณะที่จิตเบา เขามีอุปาทานไหม มีความ รู้สึกว่าเป็นเราหรือเปล่า ? เห็นไหม ตอบเองเลย นั่นแหละแสดงว่าโยมรับรอง ตัวเองว่า ฉันทาได้! ตรงนี้คือผลที่เกิดขึ้น และประกาศตัวเอง ที่เรียกว่าเป็น “ปัจจัตตัง” เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติรู้ได้ด้วยตนเอง เขาแปลว่า “เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้ เฉพาะตน” ถ้าใครเข้าถึงแล้ว จะรู้ได้ด้วยตนเองว่าจิตลักษณะนั้นเป็นอย่างไร


































































































   258   259   260   261   262