Page 295 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 295
277
ทั้ง ๆ ที่ตัวเองมีเต็ม ตรงที่ห้ามเกิด ก็คือสะกดจิตตัวเอง หรือข่มจิตตัวเอง เอาไว้ ถามว่าข่มดีไหม ? ข่มดีนะ พระพุทธเจ้ายังบอกเลยว่า ข่มจิตในเวลา ที่ควรข่ม ยกจิตในเวลาที่ควรยก
อารมณ์ไหนที่ควรยกจิต ? บางทีมีอารมณ์เข้ามาปะทะมาก ๆ ไม่ สามารถยกจิต ก็ต้องข่มไว้ก่อน แค่เรานิ่งนิดหนึ่ง ข่มจิตนิดหนึ่ง แล้วก็ ยกจิตขึ้นมาให้เหนืออารมณ์เหล่านั้น การที่เราจะยกจิตขึ้นเหนืออารมณ์ เหล่านั้น ทาได้อย่างไร ? ทายังไงดี ? สังเกตไหมว่า เวลาอารมณ์นั้นเข้ามา กระทบแล้วที่เรารู้สึก เราคลุกคลีกับเขาใช่ไหม ? เราจึงอยู่ที่เดียวกัน กับเขา เราคลุกคลีกับความทุกข์ ก็อยู่ที่เดียวกันกับทุกข์ ถ้าเราอยากให้อยู่ เหนือเขา ก็ต้องถอยออกมา แล้วทาจิตเราให้ใหญ่กว่า หรือกว้างกว่า แล้ว จิตเราก็จะอยู่ข้างบน ทุกครั้งที่สังเกตตรงนั้น ทุกครั้งที่จิตเราเบา มันจะลอย จิตเราจะสูงขึ้น สูงในแง่หนึ่งก็คือว่า อยู่เหนืออารมณ์เหล่านั้น สูงในแง่หนึ่ง ก็คือ จิตเป็นมหากุศลที่ไม่เป็นอกุศล สูงกว่าจิตที่เป็นอกุศล จิตไม่เป็นบาป จิตที่อยู่เหนืออารมณ์เหล่านั้น ตรงนี้จะเป็นอย่างหนึ่ง
แล้วอีกอย่างหนึ่ง นอกจากสูงคือ ดีกว่าแล้วยังเบากว่า ใหญ่กว่า ตรงนั้นน่ะ.. จะสูง อยู่ในชั้นที่สูงกว่า แต่ถ้าเมื่อไหร่เราคลุกคลี แล้วถูก อารมณ์นั้นครอบงาปุ๊บเนี่ย เท่ากันเลย เราก็ถูกกดทับ สังเกตว่าพออารมณ์ เหล่านั้นเกิดขึ้นเนี่ย พอเราคลุกคลี แม้แต่ตัวเรายังหนักไปหมด รูปเราหนัก ด้วย พอจิตหนัก รูปหนัก เพราะอะไร ? เพราะมีตัวตน ทาให้รูปเป็นตัว เป็น ที่อาศัย เป็นที่เกิด เป็นที่อาศัย ทาให้รูปเราหนักด้วย ก็เหมือนกับอยู่ในโลก นั้น แต่พอเราแยกออก ตัวเรารู้สึกเบาขึ้น จริง ๆ ก็เหมือนกับเป็นเทวดา ในตัว ลองดูสิบรรยากาศของเรา จิตที่ว่างเบาไม่มีตัวตน กับบรรยากาศของ เทวดา ไม่ต่างกัน เหมือนขึ้นสวรรค์ทั้ง ๆ ที่มีชีวิตอยู่ สวรรค์ที่ว่าสวรรค์ ในอก จริง ๆ แล้วเกิดขึ้นได้ เราก็เหมือนอยู่บนสวรรค์อยู่แล้ว
มีพราหมณ์คนหนึ่งถามพระพุทธเจ้าว่า รัศมีของพระองค์ผ่องใส