Page 296 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 296

278
ขนาดนี้ คงมีลาภสักการะดี มีลาภสักการะเยอะ คงมีที่นั่งอันวิจิตรงดงาม พระพุทธเจ้าบอกว่า ไม่ว่าพระองค์จะประทับที่ใดก็ตาม ถึงแม้จะปูลาด ด้วยหญ้า แล้วนั่ง แต่พระองค์ก็นั่งอยู่บนที่นั่งอันเป็นทิพย์ ใช่ไหม ? ที่นั่ง อันเป็นทิพย์เป็นอย่างไร ? ไม่ว่าจะนั่งอยู่ที่ไหนก็สบาย
ที่นี้โยมลองพิสูจน์ดูนะ ตอนนี้เรานั่งอยู่ในศาลาใช่ไหม ? นั่งอยู่ บนเบาะ อันนี้เรารู้สึก ตรงนี้เป็นที่นั่งธรรมดา เป็นที่นั่งทั่วไป แต่ถ้าเอาความ รู้สึกที่สุข หรือเบา อ่อนโยน ไปรองรับจุดกระทบที่เรานั่ง ลองดูว่านั่งอยู่ ที่ไหน ? รู้สึกนั่งถูกพื้น ถูกเบาะ หรือว่านั่งอยู่ที่ไหน ? อากาศใช่ไหม ? นี่คือ ที่นั่งอันเป็นทิพย์ ที่เราอยู่ได้ เหมือนนั่งอยู่บนบัลลังก์ที่เป็นของพิเศษ นี่คืออยู่ที่จิตของเรา เราจะไม่รู้สึกสัมผัสอยู่บน.. เขาเรียกไม่รู้ถึงบัญญัติตรงนี้ แต่รู้นะ ดูด้วยตา หรือสัญญา จาได้จริง ๆ แต่จิตของเราไม่ได้เกาะเกี่ยว ตรงนี้ต่างหาก สิ่งสาคัญ จิตเราไม่ได้ยึดติดกับบัญญัติตรงนี้ แต่รู้ด้วยความ รู้สึกที่เป็นจริงว่า อยู่ในที่ว่าง ๆ ลอย ๆ เบา ๆ เพราะฉะนั้นรอบตัวรู้สึก เบาไปด้วย นี่คืออาณาจักรหรือขอบเขตของเรา
แม้เรานั่งอยู่ในกลุ่ม ในศาลาเนี่ยรอบ ๆ ตัวเรามีเพื่อนนักปฏิบัติอยู่ ด้วย แต่ถ้าเราเอาความว่างเข้าไป จะรู้สึกเหมือนนั่งอยู่คนเดียวในที่ว่าง ๆ นั่นคือที่เขาบอกว่า เทวดาถึงแม้อยู่ติดกัน อยู่ชิดกันแค่ไหนก็จะไม่อึดอัด ไม่เบียดกัน จิตของเราก็เหมือนกัน ถึงแม้ต่างคนต่างปล่อยจิตตัวเองให้ กว้างในศาลาเนี่ย แต่จิตที่ว่างจะไม่เบียดเบียนกัน จะไม่รู้สึกกระทบกัน ต่างคนต่างรู้สึกอิสระ นี่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ของธรรมะ การปล่อยวางความ ไม่มีตัวตนเป็นเรื่องอย่างนี้ เป็นเรื่องมหัศจรรย์ เพียงแต่ว่าเราจะทาอย่างไร ที่จะรู้ถึงบรรยากาศนี้ ? ทาจิตของเราให้เป็นอย่างนี้บ่อย ๆ ? อันนี้คือคาถาม คือปัญหาใหญ่ ที่จริงนี่แหละ.. ถ้าเจออย่างนี้ เราอยากให้เป็นอย่างนี้บ่อย ๆ นะ อยากให้เป็นอย่างนี้ตลอดเวลา เพราะอะไร ?
เพราะ “อิสระ” เพราะรู้สึกว่าเราไม่ต้องไปแบกรับภาระอะไร จิตไม่


































































































   294   295   296   297   298