Page 298 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 298

280
เราปุ๊บ พอว่าง จะให้ตั้งอยู่นาน เราต้องขยายให้กว้าง แล้วก็จับที่ความรู้สึก ดูจิตของเราไปเรื่อย ๆ ตรงนี้จะเห็นว่า เมื่อจิตเราว่าง เราแยกรูปนามได้ จิตเราว่าง อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะปรากฏชัด ด้วย เสียงที่ได้ยินก็ชัด ความคิดที่เกิดขึ้นก็ชัดเจน ภาพที่เห็นก็ชัด อย่างเช่น พอจิตว่าง เวลามอง รู้สึกเป็นไง ? ภาพนี้จะเด่นชัดขึ้นมา แต่ถ้าจิตเรา ไม่ว่าง บางครั้งมันจะเบลอ ๆ จิตว่าง จิตผ่องใส จิตยิ่งใส ภาพ ยิ่งชัด ไม่ใช่ เบลอนะ เพราะฉะนั้นอารมณ์ต่าง ๆ จึงชัดเจน เพราะสติเราดี
เวลาอารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นชัดเจน ความไม่พอใจเกิดขึ้นแม้นิดเดียว ก็จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่เลย มันชัดมากจนน่ากลัว เพราะฉะนั้นเวลา เกิดขึ้นปุ๊บ เราก็ดับเสีย อย่ากังวลว่าอุ๊ย..แย่แล้ว เราไม่ทัน กาหนดไม่ทัน ความไม่พอใจเกิดขึ้นอีกแล้ว ไม่ต้องคร่าครวญ เพราะคร่าครวญแล้วเสียเวลา มัวแต่คร่าครวญ เสียดายจังเลยเมื่อกี้ไม่ทัน แย่แล้ว..ทายังไง ? น่าจะทัน ขณะที่เรากาลังราพึงราพันอย่างนี้ เสียเวลาไปตั้งนาน ขณะที่เราราพึง ราพัน ถามว่าความไม่พอใจนั้นหายไหม ? ก็ยังไม่พอใจตัวเองต่อ ไม่ใช่แค่ ไม่พอใจอารมณ์อันนั้นนะ ตัวที่ตามมาก็คือไม่พอใจตัวเอง งั้นวิธีให้ดับง่าย ที่สุดคือ อ๋อ..เมื่อกี้เกิดขึ้นแล้ว ไม่พอใจ ดับใหม่ เริ่มใหม่ ยกจิตของเรา ขึ้นสู่ความว่าง แล้วก็รับรู้ใหม่แค่นั้นเอง
สมมติว่าอารมณ์เมื่อกี้ทาให้เราไม่สบายใจ เกิดขึ้นมาแล้ว เรารู้สึก ว่าไม่สบายใจ เราก็ดับความไม่สบายใจของเราก่อน ยกจิตขึ้นมา ทาให้ ว่าง แล้วลองดูว่า ถ้าเอาจิตที่ว่างเข้าไปรับรู้ ให้เอาจิตที่ว่าง กลับไปรับรู้ อารมณ์นั้นใหม่ ให้รับรู้ ให้อารมณ์นั้นตั้งอยู่ในความว่าง แทนที่จะอยู่ที่ ตัวเรา เพราะที่เราไม่พอใจเมื่อกี้มันเข้ามาถึงตัว เข้ามาข้างใน เพราะฉะนั้น วิธี ให้อยู่ข้างนอกเสีย ถามว่าได้ไหม ? ได้ เราสามารถให้อารมณ์นั้นอยู่ ข้างนอกได้
สังเกตนะว่า ถ้าเมื่อไหร่ที่จิต ความรู้สึก หรืออารมณ์นั้นเข้ามาถึงตัว


































































































   296   297   298   299   300