Page 299 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 299
281
มันจะหนัก พอเราขยายปุ๊บ เสียงที่ได้ยิน ลองดูสิ ปรกติเราฟังปุ๊บ มันจะเข้า ไปที่หู ได้ยินตรงนี้ อยู่ที่หู แต่ถ้าจิตเรากว้าง จิตเราว่าง แล้วก็ขยายให้กว้าง ลองดู.. เสียงที่ได้ยินตั้งอยู่ที่ไหน ? อยู่ข้างนอก.. อยู่ข้างนอกถูกแล้วนะ ตั้งอยู่ข้างนอก ในที่ว่าง ๆ อยู่ในที่เบา ๆ หรือว่าอยู่ในความสงบ ? อยู่ที่ไหน ลองสังเกตดู อยู่ข้างนอก หรือว่ารู้ว่าอยู่ข้างนอก ถูกแล้ว ตรงที่ข้างนอกนั้น เป็นความว่าง ความเบา ความสงบ รู้สึกแบบไหน ? ว่าง ๆ ว่าง ๆ ตรงนี้ เนี่ย เรารู้ชัดอย่างนี้ เพราะความว่างนั้นคือลักษณะของจิตเรา ถ้าจะให้ดี มีกาลัง มากขึ้น เพิ่มความสงบเข้าไปในความรู้สึกเรา
ลองดูนะ ถ้าให้เสียงนั้นตั้งอยู่บนความสงบ รู้สึกยังไง ? ความชัดเจน จะต่างออกไป อันนี้คือวิธีกาหนดสภาวะ กาหนดอารมณ์ เพราะฉะนั้นเสียง ที่ได้ยิน เมื่อเสียงนั้น อารมณ์เหล่านั้นทาให้เราอึดอัด ถ้าแยกส่วน มันจะ มีช่องว่าง ถึงแม้จะอยู่ใกล้แค่ไหนก็ตาม จิตเราสามารถถอยออกห่างไปได้ อยู่ใกล้ตัว แต่เราถอยจิตมาได้ มาไว้ข้างหลังได้ จิตเราจะรู้สึกอิสระ รู้สึก โล่ง ๆ ไม่ถูกเบียดด้วยอารมณ์เหล่านั้น หรือไม่อีกอย่างหนึ่ง อันนี้พูดเผื่อ เลยนะ พูดเผื่อเอาไว้...
อย่างเช่นเราเอาความรู้สึกที่ว่างของเราเข้าไปที่รูปแล้ว รูปเราว่างไป ใช่ไหม ? ทะลุได้ ถ้าเราให้ความรู้สึกของเราผ่านตรงนี้ได้ไหม ? ทะลุกล่อง รู้สึกเป็นไง ? โปร่ง ๆ โล่ง ๆ ถึงแม้ตาจะเห็นเป็นกล่อง แต่จิตจะไม่ติดอยู่ ที่กล่อง สามารถทะลุไปได้ เพราะฉะนั้นกล่องตรงนี้ เขาเรียกเป็นรูปอย่างหนึ่ง ถามว่าคนเป็นอะไร ? เป็นรูปอย่างหนึ่ง จัดเป็นรูปอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น วิธีมอง เราอาจจะมองให้ทะลุตัวเขาไปได้ ให้ความรู้สึกเราทะลุตัวเขาไป แทนที่จะไปหยุดแค่หน้า แล้วเราอึดอัด เราก็มองให้ทะลุไปเลย ให้ความรู้สึก เราทะลุไป เมื่อไหร่ที่ความรู้สึกเราทะลุ มันจะอิสระ แต่จะไม่มีอาการยึดติด อิสระขึ้น
แต่บางครั้งทายากนะ คนนี่ทายากจริง ๆ คาว่าคน ความรู้สึกว่า