Page 304 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 304

286
ผลเป็นอย่างนี้ พอทาอย่างนี้ก็เป็นอย่างนี้ ตอนนี้ทาแบบนี้ไม่ได้เลย หรือ เอาจิตเข้าไม่ได้ ให้บอกว่าเข้าไปที่ไหนไม่ได้ จะได้บอกวิธีแก้ แต่ถ้าเราเล่า แบบไม่รู้ทาอะไร เวลาอาจารย์บอก เราก็จะจับจุดไม่ถูกเหมือนกัน
บางทีโยคีเล่าแบบ.. เล่าเสร็จแล้ว เขาจับประเด็นของตัวเองไม่ถูก จุดสาคัญของตัวเองเนี่ย ไม่รู้ว่าตัวเองติดตรงไหน ที่เล่ามาเนี่ยปัญหาอยู่ ตรงไหน เพราะปัญหาอยู่ตรงไหนเนี่ยมันยาก พออาจารย์รู้ว่าอ๋อ..ปัญหา เขาอยู่ตรงนี้ บอกไปเพิ่มตัวนี้นะ ก็ยังงง ๆ อยู่ บอกให้เพิ่มความตื่นตัว ก็.. “เพิ่มไปทาไม ? เพิ่มแล้วเกิดอะไรขึ้น ?” เออ..นั่นแหละ ถ้าบอกว่าเพิ่ม ความตื่นตัวแล้วมาเล่า ก็..พอเพิ่มความตื่นตัว แล้วจิตเราเป็นอย่างนี้นะ อาการเวลากาหนดสภาวะ เขาเปลี่ยนอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ นั่นคือรู้ว่า เพราะเราทาอย่างนี้ ผลเป็นอย่างนี้ รู้ มีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็ เป็นอย่างน้ัน อยู่ ๆ ก็เป็นอย่างนี้ อันนั้นไม่ดี ไม่มีเหตุผล เกิดอย่างบังเอิญ ไม่ดี เวลาเราจะทาต่อ เราจะทาไม่ถูก ธรรมะเรารู้เหตุรู้ผล รู้ว่าทาอย่างไร ผลเป็นอย่างไร แต่ไม่ใช่ว่าอยากให้เกิดอย่างไร แต่รู้ว่าทาอย่างไร แล้วผล เป็นอย่างไร อันนี้สาคัญ
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือในอิริยาบทย่อย คือเวลาชีวิตประจาวันของเรา เวลาเราทาโน่นทานี่ เวลาทางานต่าง ๆ สามอย่างที่ต้องสังเกต มีสามอย่าง หลัก ๆ เลยก็คือ สภาพจิต ก็คือสภาพจิตใจของเราขณะนั้น มันเบา ๆ ว่าง ๆ โล่ง ๆ ตรงนี้เขาเรียกบรรยากาศของสภาพจิต เราเคลื่อนไหวอยู่ใน ความว่างเบา ด้วยใจที่เบา ๆ โล่ง ๆ หรือเปล่า ? อันนี้ต้องสังเกต เขาเรียก สภาพจิต
สอง.. ต้นจิต ต้นจิตคือ ให้สังเกตจิตที่ทาหน้าที่รู้ก่อนทา ก่อนที่ เราขยับ เห็นไหม ? จิตเราสั่งก่อนไหม ? อันนี้เขาเรียกต้นจิต ก่อนที่จะพูด จิตที่เราสั่งก่อนไหม ? รู้ก่อนไหมก่อนที่จะขยับปาก ก่อนที่จะอ้าปาก ? ตรงนี้ เขาเรียกต้นจิต


































































































   302   303   304   305   306