Page 306 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 306
288
อยู่เรื่อย ๆ ในสภาวะที่เกิดขึ้น เกิดในขณะเดียวกันอีก เขาเรียกหมุนวงล้อ ที่พาไปสู่ความเจริญ เขาเรียกอะไรนะ ? อิทธิบาท ๔ ก็คือสภาวะเหล่านี้ พอใจที่จะทา ใส่ใจที่จะพิจารณา สังเกต หมั่นพิจารณา หมั่นสังเกตอาการ ต่าง ๆ แค่นั้นเอง
เพราะฉะนั้นการสังเกตตรงนี้เรามีเป้าหมายด้วยว่า สังเกต เราเจตนา ที่จะรู้อาการเกิดดับอย่างหนึ่ง เจตนาที่จะรู้ว่าจิตเราเป็นอย่างไรอย่างหนึ่ง เจตนาที่จะรู้ว่าจิตเราเห็นจิตเราสั่งไหม ทุก ๆ อาการ ตรงนั้น การที่เรา พิจารณารู้ถึงการเคลื่อนไหว การทาต่าง ๆ อยู่ในความว่างเนี่ย เป็นการ ประคองจิตอย่างดีเลย ที่จริงแล้วความรู้สึกที่ว่างก็คือสมาธิ เหมือนเรา อยู่ในฌานตลอดเวลา เพียงแต่ไม่ได้ดิ่ง แต่มีความตื่นตัวพร้อมที่จะรู้ อาการต่าง ๆ ตรงนี้คือความต่าง ถ้าเป็นสมาธิที่ไม่มีตัวตน ก็จะไม่แคบ จะรู้กว้าง ถ้าทาได้อย่างนี้ การปฏิบัติของเราจะต่อเนื่อง ก้าวหน้า
บางคนบอกว่า อืม.. พอมาหาอาจารย์แล้วค่อยมีกาลังหน่อย พอห่าง ไปแล้วก็ลืม ลืม ลืม เมื่อก่อนสอนวิธีอย่างนี้นะ ทุกคนเวลาเข้าไปที่สานัก จะรู้สึก... ญาติโยมก็อยู่ข้างนอก พออยู่ข้างนอก เวลาทางานกลางวัน ตอนเย็นมาส่งอารมณ์ มาเล่าสภาวะ ก็เนี่ย..เอาไปทา พรุ่งนี้เช้าก็ไป ปฏิบัติตอนทางานนั่นแหละ ตอนเย็นกลับมาเล่าสภาวะ การปฏิบัติก็จะ ต่อเนื่องแต่ก็มีบางคนพอหายไปหลาย ๆ วัน ไม่กล้าเข้ามา คือแปลก อย่าง พอเราสอนธรรมะอย่างนี้ พอหายไปนาน ๆ ไม่กล้าเข้ามา ทาไม ไม่กล้าเข้า ? อาย ปฏิบัติไม่ได้ไม่กล้าเข้ามา อาย ไม่มีอะไรเล่าให้อาจารย์ ฟัง ยิ่งอายก็ยิ่งหาย ไม่ต้องอายหรอก ยิ่งปฏิบัติไม่ได้นี่ เข้ามาถามยิ่งต้อง สานต่อ
และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทาอย่างไรเวลาเราไม่มีพลัง เราถึงจะยกจิต หรือเจริญพลังได้เร็ว ? ก็เหมือนเราอยู่ตรงนี้ เรารู้สึกเป็นไง ? พลังเราเกิด เร็วใช่ไหม ? เวลาเราไม่มีพลัง เราก็นึกถึงบรรยากาศตรงนี้แหละ ให้นิ่ง