Page 305 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 305
287
สาม.. ก็คืออาการ อย่างเช่นเวลาเรารู้ปุ๊บ รู้ว่าบรรยากาศเป็นยังไง เห็นต้นจิตสั่ง สมมติเวลาเราจะขยับมือ จิตมันแวบไปที่มือ แล้วก็มือเคลื่อน ไป ตรงที่มือเคลื่อน เขาเรียกอาการ อาการของอิริยาบทย่อย อาการต่าง ๆ สามอย่างนี้สังเกตควบคู่กัน สภาพจิต ต้นจิต แล้วก็อาการ ไปด้วยกัน ไม่ต้องไปกังวลว่าทันไม่ทัน ไม่เป็นไร ให้เราพอใจที่จะกาหนดรู้ เมื่อไหร่ที่ เราพอใจ ทันบ้างไม่ทันบ้าง ต่อไปเขาก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ ทันมากขึ้นเอง เขา ก็จะต่อเนื่องมากขึ้น
พอสติเรามีกาลังมากขึ้น อาการเหล่านี้ก็จะชัดด้วย จะชัดไปเอง จะทันเอง แต่ถ้าเราทาบ้างไม่ทาบ้าง มันก็เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง ใช่ไหม ? ธรรมะ เกิดขึ้นสมควรแก่การปฏิบัติ มันจะเกิดขึ้นมากกว่านั้นไม่ได้ นี่แหละเขา ซื่อสัตย์ ธรรมะไม่เคยลาเอียง ใช่ไหม ? คนนี้ใจดีหน่อย เพราะฉะนั้นให้ เห็นมากหน่อย ไม่ได้ ไม่ใช่ เกิดขึ้นตามที่เราปฏิบัติ สมควรแก่การปฏิบัติ
เพราะฉะนั้นความเพียรเรา อย่างหนึ่งนะที่จะทาให้เราไม่ต้องฝืนคือ มีตัวฉันทะ มีความพอใจที่จะรู้ พอใจที่จะตามรู้ กาหนดรู้จิตของเรา แค่ พอใจ แล้วเราจะไม่อึดอัด แต่ถ้าเราฝืน จะอึดอัดทันที มีตัวตน ฝืนเมื่อไหร่ มีตัวตนเมื่อนั้น แล้วจะกาหนดอะไรไม่ได้เลย จะเกิดความหงุดหงิด เพราะ จะทาให้เห็น พอฝืนเมื่อไหร่ มีตัวตน จะกาหนดสภาวะที่ละเอียดไม่เห็น แต่ถ้าเราพอใจที่จะทา เป็นความพอใจที่ไม่มีตัวตน พอใจแล้วจิตว่าง พอใจ แล้วจิตเบา เมื่อจิตเบา แสดงว่าสติเรามีกาลังมากขึ้น สมาธิมีกาลังมากขึ้น แล้ว จิตเราอิสระขึ้น จิตเราจะผ่องใสขึ้น เพราะฉะนั้นจะเห็นอาการตรงนี้ไป เอง แค่เรามีเจตนาที่จะรู้ เราก็จะรู้ได้ต่อเนื่อง แค่นั้นเอง ไม่ต้องบังคับ แต่ พอใจ เขาเรียกตัวฉันทะ
ฉันทะเป็นจุดเริ่มต้นของการนาไปสู่ความเจริญใช่ไหม ? ฉันทะ.. พอใจ วิริยะ.. เราพอใจที่จะดู ความเพียรก็เกิดขึ้น เมื่อความเพียรเกิด อะไร เกิด ? จิตตะ.. ใส่ใจรู้รายละเอียดของอาการนั้น ๆ วิมังสา.. หมั่นพิจารณา