Page 311 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 311
293
ไป ค่อย ๆ บางไป ค่อย ๆ เลือนไป หรือกระจายออก บานออก หรือว่า ฝอย ๆ หรือแปล๊บ ๆ อันนี้คือลักษณะอาการเกิดดับ ไม่ใช่เราจะรู้ว่ามีแล้ว หมด มีแล้วหมด อันนั้นไม่ใช่ ต้องรู้ด้วยว่าเขาเกิดแล้วดับอย่างไร
อย่างเช่นแวบขึ้นมา บางทีไม่เห็นดับ ผุดขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อย อันนี้ผิด ไหม ? ไม่ผิด เขาเรียกเห็นแต่ตอนเกิด ตั้งอยู่.. เกิด ตั้งอยู่.. แต่ตอนดับ ไม่เห็น นั่นคือสติเรามีกาลังขนาดนั้น ก็จะเห็นอย่างนั้น ไม่เห็นดับอย่าไป หงุดหงิด ให้รู้เกิดใหม่ต่อไปเรื่อย ๆ ให้ทันตรงที่ปุ๊บเกิด ปุ๊บเกิด แล้วก็จะ ทันตอนดับเอง... มีอะไรอีก ? เวลาหมดก็หมดจริง ๆ นะ
เวลาสงบ อย่างที่บอกว่า ถ้าจิตเราสงบ บรรยากาศรอบตัวสงบ สังเกต พอเราหัวเราะขึ้นมา พอหยุดหัวเราะปุ๊บ เป็นไง ? จะเงียบไปเลย ไม่มีเศษ อารมณ์ เป็นเรื่องจบก็คือจบ เขาเรียกไม่มีเศษอารมณ์ จบปุ๊บ มันก็จะ กลายเป็นความว่างสงบเหมือนเดิม จิตเราก็กลับสู่ความสงบ เขาเรียก ไม่มีเศษอารมณ์ ไม่ติดตัว ถามว่าอารมณ์หัวเราะจบแล้วก็คือจบ เวลา โกรธก็ไม่ต่างกัน ถ้าเรากาหนดอย่างนี้ รู้ดับก็คือดับไม่มีเศษ ไม่มีเศษ แล้วนะดับเงียบไปแล้ว เฉยแล้ว ว่างสนิทแล้ว แต่คนที่เป็นคู่กรณีไม่รู้นะ ว่าจะว่างไปด้วยหรือเปล่า ? ส่วนมากนี่จะยืดเยื้อ เขาเรียกมีเศษอารมณ์ ถ้าเขาไม่ได้ปฏิบัตินะ จะข้ามวัน ข้ามเดือน นั่นแหละ..ความไม่พอใจอันนี้ แต่ถ้าเรารู้ดับได้ ดับแล้วก็คือจบ
อย่างหนึ่งที่เราพิจารณาก็คือว่า เขาเรียกพิจารณาแบบบัญญัติ คน เราทุกคนมีกรรมเป็นของตัว แต่ละคนก็มีกรรมเป็นของตัวเอง มีวิบากเป็น ของตัวเอง เราทาแทนไม่ได้ เราอาจจะบอกได้ แนะนาได้ แต่ทาแทนไม่ได้ ใช่ไหม ? ปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ทาแทนไม่ได้ บอกได้ บอกให้ทาได้สอน ได้ แต่ทาแทนไม่ได้หรอก ใครทาใครได้ คนไหนทาคนนั้นได้ ทามากได้มาก ทาน้อยได้น้อย ไม่ใช่ทาเพื่อเอาอีกล่ะ ใช่ไหม ? เห็นไหมได้อะไร ? สิ่งที่ได้ ก็คือความว่าง ความอิสระ ไม่ใช่เพื่อได้อย่างอื่น ทาเพื่อให้ได้ความอิสระ