Page 315 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 315
297
อันนี้อานิสงส์ของการฟังธรรม แค่ฟังอย่างเดียวยังโล่งขนาดนี้ ถ้าปฏิบัติด้วยจะขนาดไหน แค่ฟังอย่างเดียวยังสบาย เหลืออย่างเดียว รีบปฏิบัติ... หมดจริง ๆ ทุกคนก็หมดด้วย งั้นเท่านี้ก่อนนะ วันนี้เท่านี้ ก่อน ปฏิบัติก่อน พรุ่งนี้ต้องดูอีกทีหนึ่งว่าจะมีอะไรพูดไหม เป็นวัน ๆ ไปนะ แต่วันนี้ปฏิบัติก่อน แล้วพรุ่งนี้มาเล่าให้ฟัง เล่าสภาวะให้ฟังว่า เป็นยังไง ส่ง อารมณ์ทีละคน ปฏิบัติแล้วผลเป็นยังไง กาหนดอะไรบ้าง งั้นวันนี้ก็เท่านี้ ก่อน ขอให้เจริญในธรรมทุก ๆ คน
วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒
จะพูดอะไรวันนี้.. รู้สึกว่าวิธีการกาหนดนี่เข้าใจขึ้นนะ วิธีการกาหนด สภาวะ.. แต่ว่าบางทีพอว่างแล้ว มีคาถามอย่างหนึ่งที่บอก เราทาใจให้ว่าง เป็นยังไง ? พอทาใจให้ว่างแล้วกาหนดอะไรต่อ ? บางทีพอเริ่มปฏิบัติ พออาจารย์สอนให้ทาใจให้ว่าง เราก็จะทาซ้าอยู่ เดี๋ยวออกมาข้างนอกแล้ว ขยายให้กว้าง แล้วก็เอามาที่ตัว ซ้า ๆ .. การที่เราแยกรูปนาม เริ่มจากทาจิต ให้ว่าง ด้วยการเอาจิตมาข้างนอกตัวในที่ว่าง ๆ พอจิตเราว่างแล้ว จิตเราว่าง จิตเราเบา โล่ง ต่อไปถ้าขณะที่นั่งกาหนดสภาวะต้องมีอารมณ์หลักให้กับ จิต ต้องมากาหนดอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
อย่างเช่น พอเราว่างเนี่ย ทาจิตให้ว่างปุ๊บ เอามาที่ตัว คลุมตัวก่อน ห่อหุ้มตัว ขณะที่นั่งนะ ตอนที่นั่งเจริญสตินั่งปฏิบัติ ห่อหุ้มตัวแล้วก็มารู้ที่ ตัวของเรา ขณะที่กลับมาที่ตัว ให้ความรู้สึกที่เบาเข้ามาแล้วห่อหุ้ม เราจะเห็น ว่าตัวเราว่าง ๆ ขณะที่ตัวว่าง ๆ นั่นแหละ ให้นิ่งในความว่างที่ตัว พอเรานิ่ง ในความว่างปุ๊บ สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งจะเกิดขึ้น สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พูดถึงหมายถึงว่า อาจจะเป็นอาการของลมหายใจที่ชัดขึ้นมา หรืออาจจะ เป็นอาการเต้นของหัวใจปรากฏชัดขึ้นมาในความว่างบริเวณที่ตัวเราถึงแม้ อาจจะไม่มีรูปร่างของตัว อย่างเช่น ตัวเราหายไปหมดแล้ว จะทายังไง ?