Page 316 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 316
298
มันเหลือแต่ความว่าง แต่บริเวณที่ตัวเรารู้สึกได้ บริเวณนี้มีอาการ อย่างไร ? เพราะยังมีอาการอยู่ อาจจะเป็นอาการเหมือนชีพจรเต้น อาการ เต้นของหัวใจ หรือลมหายใจ บางครั้งรู้สึกถึงอาการ.. เวลาหายใจเข้าออก มีอาการกระเพื่อมที่ท้องอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นมา เราต้องเข้าไป กาหนดรู้อาการนั้น ให้ไปรู้อาการนั้น เพราะอารมณ์นั้น อาการที่เกิดขึ้น ขณะนั้น เป็นอารมณ์ปัจจุบัน
เพราะฉะนั้นการกาหนดรู้ก็คือ ให้เอาความรู้สึกเราตามไป แล้วสังเกต ว่าเขามีแล้วก็หมดยังไง มีแล้วหายยังไง อย่างเช่น พอถามว่าเกิดดับ.. ไม่ เข้าใจคาว่าเกิดดับอีก.. ลักษณะอาการเกิดดับก็คือเกิดแล้วมีแล้วหมด อย่างเช่น อาการเต้นของหัวใจที่มีอาการวุบ.. วุบ.. วุบ.. เป็นขณะ ๆ บางที วุบขึ้นมาแล้วก็หายไป วุบขึ้นแล้วก็หายไป นั่นคือลักษณะอาการเกิดดับ เพียงแต่ว่าเป็นลักษณะอาการเกิดดับของอาการเต้นของหัวใจเท่านั้นเอง ในความว่างนั้นที่เกิดขึ้นมา เพราะฉะนั้นให้เราตามรู้อาการนี้ไปเรื่อย ๆ
ขณะที่ตามรู้อาการควรพิจารณาอย่างไร ? อันนี้สาคัญมาก ๆ เลยนะ เพราะว่าเวลาเรากาหนดสภาวะ บางทีเราไม่มีเป้าหมายหรือไม่มีเจตนา ที่จะรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาวะ อาการที่เกิดขึ้นข้างหน้า เราก็จะดูไป เรื่อย ๆ ๆ ดูอย่างเดียว รู้ว่ามีแล้ว เกิดดับ เกิดดับ มีแล้วเปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน ขณะที่เห็นการเปลี่ยนแปลง เราไม่เห็นจิตเปลี่ยนแปลง หรือรู้ว่า เกิดแล้วดับ มีแล้วหมด แต่รายละเอียดของการดับไม่เห็น เพราะฉะนั้น สิ่งที่ต้องสังเกตคือรายละเอียดของสภาวะที่เกิดขึ้นของอารมณ์นั้น ๆ
อย่างเช่นตอนใหม่ ๆ เราเห็น.. ยกตัวอย่าง ขณะที่เรากาหนดอาการ เต้นของหัวใจที่มัน ตึ๊บ..ตึ๊บ..ตึ๊บ.. ตอนใหม่ ๆ ที่เรารู้เข้าไป เขาก็เกิดตาม จังหวะปกติ ตึ๊บ.. ตึ๊บ.. ตึ๊บ.. อันนี้จังหวะปกติ พอเอาจิตเข้าไปตามรู้ มากขึ้น อาการเต้นของหัวใจนั้น อาการเกิดดับนั้นเร็วขึ้น ๆ หรือช้าลง บางครั้งเข้าไปแล้วรู้สึกเบาลง..เบาลง..เบาลง.. หายไป แต่บางครั้งเข้าไปแล้ว