Page 318 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 318
300
เขาก็จะปรากฏตรงนี้ อาจจะมีการเปลี่ยน บางครั้งอาจจะมีอาการเหมือน หมอก ๆ เคลื่อนไหว เหมือนเมฆที่ลอยไป ลอยมา หรือมีเงาเคลื่อนไป เคลื่อนมา นั่นคือสภาวะที่เกิดขึ้นและเป็นอารมณ์ที่เราต้องกาหนดรู้ ถ้าว่าง จริง ๆ หรือว่างสนิท อาการเหล่านี้จะไม่มีเลย ตรงที่ถ้าเราสติอ่อนเนี่ย มันว่าง แล้วจะเงียบไม่มีอะไรก็คือหลับ แต่ถ้าเราไม่หลับ จะมีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เกิดขึ้นมาให้เรากาหนดแน่นอน
นอกจากอาการนี้แล้วก็จะมีความคิด บางครั้งไม่มีอะไรเลยแล้ว ความสงสัยเกิดขึ้น นั่นแหละ.. ตัวนั้นแหละที่เราต้องกาหนดรู้ ที่เรายังจะ ไปดูอะไรต่อ จะไปหาอะไรต่อ ตัวนี้แหละ คือสภาวะหนึ่ง เป็นจิตดวงใหม่ที่ เกิดขึ้น และเราก็กาหนดรู้จิตดวงนี้แหละ พอเขาอยากรู้ปุ๊บ.. พอเราไปรู้ จิตดวงนี้หายไปไหม ? มันหายแล้วเกิดใหม่ต่อทันทีหรือเปล่า ? ตรงนี้คือ สภาวะ ๆ หนึ่ง เป็นการดูจิตในจิต ดูจิตที่ทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ ตอนแรกที่ บอกว่าดูจิตในจิต ดูจิตที่ว่าง จิตที่เบา จิตที่โล่ง ต่อไปจิตในจิต ดูความ ละเอียดมากขึ้น นอกจากดูว่าจิตที่โล่งเบาแล้ว แม้แต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ความ โล่งเบานี้เอง ก็ยังต้องรู้ว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้ว่าโล่ง ว่าเบานั้น เขามีอาการรู้แล้ว ดับหรือเปล่า ? รู้แล้วหมดไป ต้องรู้ขึ้นมาใหม่หรือเปล่า ? ตรงนี้เขาเรียก พิจารณาดูจิต รู้อาการเกิดดับของนาม รูปนามเกิดดับตลอดเวลา
แต่ถ้าเราไม่พิจารณาอย่างนี้ เราไม่เห็นเลย กลายเป็นว่าเราเป็น ผู้ดูเฉย ๆ จิตที่ทาหน้าที่รู้ก็จะนิ่ง ๆ ทาหน้าที่รู้ว่าว่าง ๆ รู้ว่าเบา และทาหน้าที่ รู้อารมณ์บัญญัติ คือรู้ว่ามีเสียง รู้ว่ามีความคิด รู้ว่ามีความปวด รู้ว่ามีความ หนัก รู้ว่ามีความร้อน รู้ว่ามีความเย็น แต่ก็จะเห็นว่าเป็นจิตดวงเดียวที่ ทาหน้าที่รู้ ไม่เห็นว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้เป็นจิตดวงใหม่หรือเปล่า ตรงนี้ถ้าเป็น อย่างนั้นเขาเรียกว่าไม่เห็นการดับของนาม เห็นแต่การเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์บัญญัติที่อยู่ภายนอก ซึ่งจริง ๆ เราเข้าใจอยู่แล้ว เราเคยเห็น เพราะ ว่าอารมณ์เหล่านั้นมันเป็นของหยาบที่เกิดขึ้นแล้วก็เปลี่ยนไป หายไป แต่