Page 320 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 320

302
ศาลานี่ แล้วเราก็ฟัง ตอนแรกฟังเสียง พอฟังปุ๊บได้คาหนึ่งเนี่ย เสียงเขา มีลักษณะอย่างไร ? มีอาการผุดขึ้นมา แล้วแตกกระจาย หรือเป็นกลุ่ม ก้อน หรือเป็นกลุ่ม ๆ หรือว่ามีอาการกระจายฝอย ๆ ? แล้วอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ต่อจากนั้นจะเห็นว่าเสียงที่เกิดขึ้นเขาเกิดอยู่ที่ไหน ? ลองนะ.. ถ้าจะให้เห็น ลองหลับตาดูนะ หลับตาแล้วรู้ตาแหน่งของเสียง สังเกต ว่าเสียงที่เกิดขึ้นปรากฏอยู่ที่ไหน ? ปรากฏอยู่ในที่ว่าง ๆ ? ปรากฏอยู่ที่ ตัว ? หรือว่าอยู่ข้างหน้า ? อยู่ที่ว่าง ๆ ข้างหน้า ? อยู่ที่ข้างหน้านะอยู่ที่ ว่าง ๆ ข้างหน้า...
ทีนี้สังเกตดูว่าเวลาเสียงเกิดขึ้นเนี่ย เขาค่อย ๆ ผุดขึ้นมา หรือว่า แว้บขึ้นมาเลย ? เสียงที่เกิดขึ้น เสียงที่ได้ยินเขามีจุด มีตาแหน่งไหม ? มีใช่ไหม ? มีตาแหน่ง เพราะฉะนั้นเมื่อขณะที่เห็นตาแหน่งจุดเกิดของ เสียง ตาแหน่งนั้นแหละคือจุดเกิดของเสียง เพราะฉะนั้นตอนแรกเรา เห็นว่าเสียงลอยอยู่ในที่ว่าง ๆ กว้าง ๆ แต่ถ้าเราเอาความรู้สึกเข้าไปใน ตาแหน่งที่เกิดของเสียง ลองดูว่าลักษณะอาการเกิดดับของเสียงเปลี่ยนไป ไหม ? ลักษณะของเขาจะเปลี่ยนไปอย่างไร ? ยังกระจาย ? ยังกว้างเหมือน เดิม ? หรือว่าสั้นลง ? แคบลง ? เล็กลง ? ชัดขึ้น ? ใสขึ้น ? หรือเท่าเดิม ? ตรงนี้วิธีสังเกต
แล้วก็อีกอย่างหนึ่ง ลักษณะของอาการพระไตรลักษณ์นั้น จุดที่ต้อง สังเกตก็คือว่า ตอนแรกดับแบบนี้ ครั้งต่อไปดับแบบนั้น ครั้งต่อไป เอ้า.. เปลี่ยนเป็นอย่างนี้ ดับเร็วขึ้น ช้าลง เล็กลง ใสขึ้น เด็ดขาดมากขึ้น หรือว่า ค่อย ๆ เลือน ๆ ๆ แล้วก็หายไปในคาหนึ่ง แม้แต่ในคาเดียวในครั้งเดียว ลองดู.. แม้แต่ในครั้งเดียว ใช้วิธีเคาะดีกว่านะ เสียงมันจะกว้างไม่เหมือนกัน ลองดูนะ.. ขณะที่อาจารย์เคาะเสียงครั้งเดียวเนี่ย สังเกตว่าเสียงมีลักษณะ ยังไง (พระอาจารย์เคาะโต๊ะ ตุ้บ.. ตุ้บ.. ตุ้บ..) เป็นยังไง ? ผุดขึ้นมาแล้วก็ บานออก กระจายออก ตรงนี้ลักษณะอาการเกิดดับของเสียง เขาเรียกว่า


































































































   318   319   320   321   322