Page 322 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 322

304
อารมณ์ที่เกิดขึ้น พูดซ้านะ .. เมื่อคืนก็พูดไปแล้ว คือเวลาเรานั่งสมาธิ ต้องย้าอีก .. อย่างที่บอกแล้วว่า นอกจากลมหายใจ นอกจากอาการเต้น ของหัวใจ นอกจากความคิด ก็มีเสียง นอกจากเสียง ก็มีเวทนา เวทนาคือ อาการปวด เมื่อย ชา คัน จัดเป็นเวทนาทั้งหมด พอเรานั่งแล้วรู้สึกเมื่อย ขึ้นมา ตรงนี้เขาเรียกเวทนา เวทนาไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น แต่เรารู้ว่าไม่เที่ยง เราไม่เคยเห็นความไม่เที่ยง พอมีเวทนารู้ว่าเกิดดับ เราเปลี่ยน ถ้าเรารู้ พอมีเวทนาเกิดขึ้นมาก ๆ ทายังไง ? เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น สิ่งที่ต้องพิจารณา หนึ่ง.. เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นปั๊บ พอมีความปวดเกิดขึ้น ให้สังเกตว่า เวทนาหรือความปวดที่เกิดขึ้นกับจิตเราเป็นส่วนเดียวกัน หรือคนละส่วน ที่เราพิจารณานี้เพื่อให้แยกรูปแยกนาม หรือแยกนามกับนาม เพื่อไม่มีอุปาทาน ไม่มีอุปาทานว่าเราปวดเราเจ็บ ให้เห็นชัดถึงความเป็น คนละส่วน เวทนากับจิตเป็นคนละส่วนกัน
ต่อไปก็คือ เอาจิตเข้าไปรู้ความไม่เที่ยงของเวทนา หนึ่ง.. ไปรู้ว่า เวทนานั้นเกิดอยู่ที่ไหน เกิดอยู่ที่ไหนนะ ? เกิดอยู่ที่เข่า เกิดที่หลัง เกิด ที่ไหล่ เกิดที่ตัว เกิดที่หัว เกิดที่แขน อันนี้เป็นการพิจารณาบัญญัตินะ อีก อย่างหนึ่งก็คือว่า ถ้าเราทาจิตให้ว่างได้ สมมติว่าเขาเกิดอยู่ที่แขน เอาความ รู้สึกว่าเป็นแขนออก รู้สึกเป็นไง ? ว่างไปใช่ไหม ? เอาความรู้สึกว่าเป็น หัวเข่าออก ลองดูว่าบริเวณหัวเข่าเรารู้สึกเป็นไง ? ไม่มี จะเบา ๆ ตรงนี้คือ เพิกบัญญัติ เขาเรียกว่าเพิกบัญญัติ การถอนจากบัญญัติ ถอนความรู้สึก ของเราออกจากบัญญัติ ให้เหลือแค่อาการ ไม่มีหัวเข่าแต่ยังรู้สึกถึงความ ปวด เหลือแต่อาการ เหลือแต่เวทนา
เพราะฉะนั้นเมื่อเหลือแต่เวทนา ไม่มีรูปร่างของหัวเข่าปุ๊บ ก็จะเห็น ว่าเวทนาหรือความปวดนั้นจะตั้งอยู่ในที่ว่าง ๆ แล้วจะเห็นเวทนาที่เกิดขึ้น กับจิตก็คนละส่วนกัน ต่อไปเมื่อกาหนดรู้อย่างนี้ปุ๊บ จะทาให้เรารับรู้เวทนา อย่างไม่มีตัวตน ไม่ใช่เราเป็นผู้รู้ มีแต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ แล้วก็เมื่อเรากาหนด


































































































   320   321   322   323   324