Page 321 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 321
303
ขึ้นมาก็ดับแบบกว้างออกไป แล้วก็หาย เพราะฉะนั้นถ้าวิธี เจาะสภาวะ ถ้าให้ต่อเนื่องมากขึ้น ให้มุ่งเข้าไปที่จุดเกิดของเสียง ตรงที่มัน (พระอาจารย์ เคาะโต๊ะ) จุดผุดใหม่ จะเกิดใหม่ เกิดใหม่ เรามุ่งไปเรื่อย ๆ ถ้าเสียงนั้น มีความต่อเนื่องนะ สมมติว่าเสียงมีความต่อเนื่องแบบนี้ (พระอาจารย์ เคาะโต๊ะ ถี่ ๆ หลาย ๆ ครั้ง) เรามุ่งไปเรื่อย ๆ มุ่งไปที่จุดใหม่ จุดใหม่ ไป เรื่อย ๆ แล้วสังเกตว่า จากที่กระจาย เขาเปลี่ยนเป็นยังไง ? เล็กลง จุดเล็ก ลง.. เล็กลง.. ตรงนี้สติดี
สังเกตไหมขณะที่เรานิ่งไป ขณะที่เราตามกาหนดรู้เรื่อย ๆ จิตเรา รู้สึกนิ่งขึ้น ตื่นตัวขึ้น ตรงนี้ตรงที่ตื่นตัวขึ้น เขาเรียกสติมีกาลังมากขึ้น ตรงที่นิ่งขึ้นนั้นสมาธิเพิ่มขึ้น ตรงที่เห็นความแตกต่างของอารมณ์ตรงนั้น เขาเรียกปัญญา ศีล สมาธิ สติ ปัญญา เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน แล้วจิต เราจะใสขึ้น ตื่นตัวขึ้น ตรงนี้เขาเรียกว่า การเจาะสภาวะ การกาหนดอาการ พระไตรลักษณ์
เพราะฉะนั้นเวลาเราทาจิตให้ว่างแล้วเนี่ย ต้องมากาหนดอาการ อย่างนี้ มีอารมณ์หลักอย่างนี้ เพราะฉะนั้นอารมณ์หลักเหล่านี้ไม่ใช่ว่าเฉพาะที่ ตัวเราอย่างเดียว อย่างเช่นเมื่อวาน เมื่อคืนยังบอกเลยว่า พอเราว่างแล้ว นั่งแล้วไม่มีอะไรเลย เงียบหมด ได้ยินแต่เสียงนาฬิกาอย่างเดียว แต๊ก.. แต๊ก.. แต๊ก.. ให้เอาจิตเราไปที่เสียงนาฬิกา แล้วสังเกตเหมือนเมื่อกี้ว่า เสียงตอนนี้เกิดดับยังไง เขาจะเปลี่ยนไปเอง เขาจะเปลี่ยนไปตามกาลัง ของสติเราว่า สติเรามีความละเอียดแค่ไหน สติเราแก่กล้าแค่ไหน ปัญญาเราละเอียดแค่ไหน สมาธิเรามีกาลังมากแค่ไหน เราก็จะเห็นความ ต่างของสภาวะของอารมณ์นั้น ของลักษณะการเกิดดับนั้นไป แต่ไม่ใช่ บังคับว่าฉันอยากเห็นอย่างนี้ ฉันต้องเห็น ไม่ใช่.. แต่ให้พิจารณา ตรงนี้มี สติอยู่กับปัจจุบันเมี่อไหร่ อาการเปลี่ยนแปลงจะชัด อันนี้คือวิธีเจาะสภาวะ หรือวิธีกาหนดอาการพระไตรลักษณ์