Page 319 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 319
301
บางครั้งเราไม่เห็นอาการดับ แต่คิดว่าเดี๋ยวก็ดับ มันไม่เที่ยง พอเราคิดว่า ไม่เที่ยง จิตเราก็ถอยออกมา คือไม่เกาะเกี่ยวกับอารมณ์อันนั้น ถึงแม้ว่า ไม่เกาะเกี่ยว ยังรู้สึกสงบขึ้น แต่ว่าไม่เห็นอาการดับของอารมณ์เหล่านั้น วิปัสสนาต้องเห็นการเกิดดับ
ทาไมถึงเห็นได้ ? เพราะว่าทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็จะไปชัดอยู่ที่ใจของเรา ชัดอยู่ในความรู้สึกของเรา ว่าอาการเหล่านี้มีลักษณะอย่างไร เพราะฉะนั้นถ้าเราสังเกตที่ใจหรือที่ ความรู้สึกเรา เราจะเห็นเลยว่า เขาเกิดขึ้นแล้วดับอย่างนี้ เกิดขึ้นแล้วหมดไป อย่างนี้
อย่างเช่นขณะที่ฟังเสียง.. ขณะที่ฟังเสียง เสียงพูดแต่ละคา แต่ละคา ที่เกิดขึ้น ลองสังเกตดูนะว่า วิธีกาหนดเสียงอย่างหนึ่ง วิธีการกาหนด เอาเสียงมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เสียงนั้นนี่ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไรก็ตาม ถ้า เราพอใจที่จะยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา มีเจตนาที่จะไปรู้อาการเกิดดับของเสียงนั้น เราสามารถเอาเสียงนั้นมาเป็นอารมณ์กรรมฐานได้เลย เพราะมีเจตนาที่ จะไปรู้อาการเกิดดับของเสียง แต่ไม่ใช่ว่าไปรู้ว่าเป็นเสียงอะไร หมายความ ว่าอย่างไร ตรงนี้ รู้ว่าเสียงนั้นเกิดดับอย่างไร อันนั้นเจตนาคนละอย่างนะ เจตนาที่จะรู้ว่าเสียงนั้นพูดว่าอะไร เสียงอะไร ตรงนี้เขาเรียกรู้บัญญัติ รู้เรื่องราว แต่ถ้ายกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา เรามีเจตนาที่จะไปรู้ว่าเสียงที่เกิดขึ้นนั้น เกิดแล้วดับในลักษณะอย่างไร อันนี้สาคัญ ถ้าเรามีเจตนาที่จะไปรู้ว่าเสียงนั้น เกิดแล้วดับอย่างไร เสียงนั้นจะหนักจะเบาแค่ไหนก็ตาม จะไม่รบกวน จิตใจเรา จะเป็นผลดีตรงที่ว่า เรามีปัญญาพิจารณารู้ถึงอาการพระไตรลักษณ์ รู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเสียง
อย่างเช่นขณะที่อาจารย์พูด ลองดูนะ.. ฟังเสียงอาจารย์แต่ละคา แต่ละคาที่เราได้ยิน แต่ละคาที่ออกมา วิธีฟังก็คือ หนึ่ง.. ยกจิตขึ้นสู่ความว่าง ทาจิตให้กว้าง ให้กว้างกว่าตัว กว้างเท่าศาลานี่เลย ทาจิตให้ว่าง ให้กว้างเท่า