Page 344 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 344

326
เรียกว่าว่าง ตรงนี้นะ จุดนี้
ที่นี้ว่าว่างไม่มีอะไรเลยตรงนี้ สิ่งที่ต้องทาต่อ ก็ให้นิ่งตรงความว่าง
ว่างไม่มีอะไรเลยแม้แต่ใจเราก็ยังว่างเปล่า ความรู้สึกว่างเปล่า ให้นิ่งใน ความรู้สึกที่ว่าง ต่อไปนะ ความรู้สึกที่ว่างอยู่ตรงไหน ? เราต้องรู้ตาแหน่งด้วย อย่างเช่น ความรู้สึกที่ว่าง ความว่างกว้างไม่มีขอบเขตไม่มีประมาณ แต่ความ รู้สึกที่เรารู้สึกโล่ง ว่างจริง ๆ มันจะอยู่บริเวณรูป ใกล้ตัว แต่ไม่มีตัวข้างนอก ก็จะเป็นว่างไป แต่ตรงนี้.. ที่โล่งเบาที่สุดคือจะบริเวณนี้ ส่วนที่สองดังนั้น ให้เรานิ่งเข้าไปในความโล่งเบา ลึก ๆ แล้วเขามีอาการอย่างไร ? ในความ รู้สึกที่ว่างเบา ความรู้สึกที่ว่างเบา เขามีการเปลี่ยนแปลงไหม ? ไม่ใช่ว่าเห็น ชัดเจนเหมือนเห็นด้วยตา แม้แต่แค่รู้สึกเหมือนไม่มีอะไรแต่รู้สึกได้ว่ามี การเปลี่ยนแปลง รู้สึกกระเพื่อม รู้สึกไหว รู้สึกเป็นนิด ๆ.. นิด ๆ.. เราก็ต้อง รู้อาการนั้น
อีกอย่างหนึ่ง ไวแล้วนะ นอกจากอาการนี้แล้ว บางครั้งเนี่ยว่างหมด ความรู้สึกว่าง ตัวว่าง ไม่มีตัวแต่รู้สึกบริเวณนี้ รอบ ๆ เหมือนกับมี อาการหุบเข้าหุบออก กระเพื่อมเข้ากระเพื่อมออก ตรงนี้มีนะ จะปรากฏ ตรงนี้ก็คือสภาวะอย่างหนึ่งที่เราต้องตามดู ไม่ใช่ไม่มีอะไร อันนี้แหละ เป็นสภาวะที่ต้องดู บางทีรู้สึกว่ามีอาการวูบเข้าออก.. เข้าออก..เนี่ย เราจะ ไม่แน่ใจไม่รู้ เราก็จะไม่กาหนด เมื่อเราไม่กาหนด เราก็ไปตั้งตรงกลาง เนี่ยที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เราก็จะรู้สึกว่าเหมือนไม่มีอะไรเกิด ที่จริงแล้ว อาการกระเพื่อมนั่นแหละ
การกระเพื่อมนั้นคืออะไร ? ก็คืออาการของรูปเรา อาการของรูปที่ เรารู้สึกกระเพื่อมได้ ทาไมถึงกระเพื่อมได้ ? ถ้าสังเกตดี ๆ ก็เหมือนอาการ หายใจของเรานั่นแหละ หายใจเข้ามันก็พองออก หายใจออกมันก็จะยุบลง เพียงแต่ว่ารู้สึกชัด รู้สึกชัดตรงนี้มันเป็นความละเอียด แล้วก็สติเราไปรู้ถึง อาการละเอียด ถ้าเรามาดูด้วยตาหรือดูความหยาบ เราจะไม่รู้สึกถึงอาการ


































































































   342   343   344   345   346