Page 349 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 349

331
เราเดิน จิตก็ต้องเกาะติดกับอาการเดิน ขณะที่เรากาหนดลมหายใจ จิตต้องเกาะติดกับอาการของลมหายใจ เราก็จะเห็นอาการเกิดดับของ ลมหายใจ ตรงนี้ปัญญา การเห็นอาการพระไตรลักษณ์ก็คือ ปัญญาที่เห็น ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นปัญญาที่เรา จะเห็นชัดถึงความไม่เที่ยงตรงนี้ จิตต้องอยู่ที่เดียวกับอาการ ต้องเกาะติด ไปเรื่อย ใช้คาว่าน้อมเข้าไปในอาการนะ ไม่ใช่มุ่งเข้าไปที่อาการอย่างเดียว มุ่งก็ส่วนหนึ่ง น้อมเข้าไปในอาการก็ส่วนหนึ่ง
ถ้าเราน้อมเข้าไปในอาการ เราจะใช้พลังน้อย เราจะคล้อยตามไปตาม อาการ แลว้ จะเหน็ แลว้ กส็ งั เกตอาการเกดิ ดบั ไป อาการเกดิ ดบั กจ็ ะปรากฏชดั ขึ้นเอง เพียงแต่ว่าที่ชัดขึ้น ไม่ใช่ใหญ่ขึ้นนะ อาการเกิดดับที่ชัดขึ้นไม่ใช่ ใหญ่ขึ้นอย่างเดียว อาการจะบางลงแต่ชัดขึ้น ใสขึ้น คาว่า “ชัด” ของสภาวะ บางครั้งจุดเล็ก ๆ เท่าปลายเข็ม แต่เราเห็นชัดเจนใสแจ๋ว น่ันแหละ เห็นไหม ? ไม่ใช่ใหญ่แต่เล็ก แต่เห็นชัดว่าเล็กใส ๆ นี่ก็คือความชัดเจน ไม่ใช่สภาวะใหญ่ถึงเรียกว่าชัด
เหมือนสภาพจิตเรา บางมาก ๆ เบา ละเอียดอ่อนมาก แต่ชัดเจนว่า มันเบา เบากว่าสาลี เวลาบางกว่าสาลี เราบอกได้นะ ความละเอียดอ่อน ของจิต ความนิ่มนวลของจิตเรา นุ่มนวลกว่าแป้ง ตรงนั้นแหละ ถ้าละเอียด มากขึ้นเนี่ย แม้แต่น้ามันที่ซึมกับสาลียังไม่ละเอียดเท่ากับจิตของเรา ไม่นุ่มนวลเท่ากับจิตของเรา ลองฝึกไปเรื่อย ๆ แล้วจะเห็นนะ แค่สัมผัสเนี่ย แค่เราสัมผัสสะดุดนิดหนึ่ง แรงกระแทกมีมากเลย แค่น้าหยดเราว่าเบา แต่จิตของเรายังรู้สึกหยาบ ละเอียดกว่านี้ ยังละเอียดมาก แต่ต้องฝึก ความละเอียดอ่อนตรงนี้ก็จะมีขั้นตอนในการฝึกไป เอาไว้พูดคราวหน้า พูด ตอนนี้หมดเดี๋ยวคราวหน้าถ้าเกิดอาจารย์มา จะพูดอะไรอีก ? แต่ตอนนี้อยาก ให้เรารู้ชัด
อีกอย่างหนึ่งนะ ถ้าต้องการให้การปฏิบัติของเราให้ก้าวหน้า ไม่ต้อง


































































































   347   348   349   350   351