Page 351 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 351
333
ต่างจากเดิม ? ตรงนี้คือการสานต่อ สภาวะก็จะเปลี่ยนไป จะก้าวหน้าขึ้น ไม่ใช่เท่าเดิมแล้ว ใหม่ ๆ อาจจะเหมือนเดิม แต่พอนิ่งมากขึ้น กาลังสติ ของเรา สมาธิเรามากขึ้น ลักษณะอาการเกิดดับก็จะเปลี่ยนไป
สังเกตดูนะว่า ขณะที่เสียงที่เกิดขึ้น อย่างเช่น อยู่ ๆ เราก็ได้ยิน เสียงดัง (พระอาจารย์เคาะโต๊ะให้เกิดเสียง) พอดังปุ๊บ สังเกตไหม.. เสียงนั้น พุ่งไปหาเรา หรือว่าเขาปรากฏตรงนั้นเลย ? พุ่งไปใช่ไหม ? ตรงนี้เพราะ จิตเรานิ่งอยู่กับที่ เสียงจึงมีลักษณะพุ่งเข้ามา เสียงที่พุ่งเข้ามามีลักษณะ ยังไง ? ฟังอย่างเดียว ตอบไม่ถูก เห็นแล้ว บางคนเห็นแต่ไม่กล้าตอบ เหน็ มนั พงุ่ ใสแ่ วบเขา้ มา ไมก่ ลา้ บอก เหน็ แลว้ แวบเขา้ มาใชไ่ หม ? แลว้ กห็ ายไป บางครั้งนิดหนึ่ง แต่ตรงนี้เขาเรียกเป็นอารมณ์จร เสียงที่เกิดขึ้นเองนั้น เป็นอารมณ์จร แล้วก็แวบหายไป ถ้าเป็นอย่างนี้ให้รู้ชัด แค่รู้สึกว่าแวบขึ้นมา แล้วก็หาย แต่ถ้าเป็นอารมณ์หลัก ตรงนี้เป็นอารมณ์จร แวบ ทีเดียวก็หมด แต่ถ้าว่ามันเกิดต่อเนื่อง (พระอาจารย์เคาะโต๊ะต่อเนื่อง) แล้วเราเอาจิตไป กาหนดรู้ ตรงนั้นกลายเป็นอารมณ์หลักทันที
เมื่อเป็นอารมณ์หลัก เราก็จะรู้ว่าเสียงจากตอนแรกดับแบบนี้ ต่อไป เขาเกิดดับอย่างไร เพราะที่เป็นอารมณ์หลัก ทาไมถึงเรียกว่าอารมณ์หลัก ? ที่เป็นอารมณ์หลักเพราะเราไปสนใจอารมณ์นั้นเป็นหลักในขณะนั้น ไม่ได้ สนใจอย่างอื่น เราไปรู้เสียงเป็นหลัก ก็เลยเรียกว่าเป็นอารมณ์หลักของจิต แม้แต่ชั่วขณะหนึ่งภายในเวลาสัก ๕ นาที หรือ ๓ นาทีก็ตาม เป็นอารมณ์ หลักชั่วขณะหนึ่ง ๆ เพราะจิตเราเกาะติดอยู่กับอารมณ์นั้นเป็นหลัก จึง เรียกว่าอารมณ์หลัก อิริยาบทหลักคือการนั่ง ยืน เดิน แต่เมื่อไหร่ที่จิตเรา ไปรู้อาการไหน อาการนั้นเป็นอารมณ์หลัก
ในอิริยาบทหลักคือการนั่ง แต่ถ้ากาหนดลมหายใจเป็นหลัก เขาเรียก ลมหายใจเป็นอารมณ์หลัก ถ้าเรากาลังนั่งอยู่ แต่มีเวทนาขึ้นมา เราไปกาหนด เวทนา เวทนานั่นแหละคืออารมณ์หลักของจิตเราขณะนั้น ๆ เพราะฉะนั้น