Page 353 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 353
335
ตรงนั้นแล้วหายเลยสิ่งที่จะพูดเมื่อกี้
อีกอย่างหนึ่งที่ต้องสังเกตก็คือว่า ลักษณะของอาการเกิดดับที่เกิดขึ้น
อย่างเช่น เวลาเรากาหนด จริง ๆ ก็ย้อนกลับมาที่เดิมนั่นแหละ พอเรา กาหนดลมหายใจ หรือพองยุบ ถ้าเขาอยู่ในความว่าง สิ่งที่ต้องสังเกต อาการ เกิดดับนั้นเขาเริ่มตรงนี้แล้วไปดับตรงนี้ เริ่มจากจุดนี้ไปดับตรงนี้ หรือเริ่ม จากตรงนี้มาดับตรงนี้อยู่ตลอดเวลา หรือว่าดูไปได้สักพักก็ยังเกิดที่เดิม เกิดดับอยู่ที่เดิม หรือว่าเปลี่ยนตาแหน่งไปเรื่อย ๆ อันนี้ก็ต้องรู้ด้วย สภาวะ เขาจะเปลี่ยนของเขาเอง บางครั้งจะแวบ ๆ ๆ จะเปลี่ยนไปเรื่อย แต่เรา ต้องรู้ แล้วเวลาเล่าสภาวะก็ให้บอกด้วยว่าเขาเกิดดับ เขาเปลี่ยนตาแหน่ง ไปเรื่อย ๆ อาจารย์จะได้รู้ว่าถึงไหนแล้ว จะได้สอนต่อว่าควรทาอย่างไรต่อ
“มีเกิดดับตลอดเวลา บอกไม่ถูกเลย เกิดดับไปหมด” อาจารย์ก็ ไม่รู้เหมือนกันว่าถึงไหน “ดูอะไรก็เกิดดับ เห็นอะไรก็เกิดดับ เสียงก็เกิดดับ เดินก็เกิดดับ คิดก็เกิดดับ” ใครก็พูดได้ ใครก็พูดได้ “เกิดดับ” แต่ถ้าบอก ได้ด้วยว่าดับในลักษณะยังไงจะเป็นตัวยืนยันจริง ๆ ว่าเราเห็นจริง ไม่ใช่แค่ คิดว่าเกิดดับ เป็นตัวรับรองตัวเอง เราบอกได้ด้วยว่ามันเกิดดับใน ลักษณะอย่างนี้ ขึ้นแล้วค่อยหมดอย่างนี้ หายอย่างนี้ ดับอย่างนี้ อันนี้นัก ปฏิบัติต้องชัดเจน ถ้าเมื่อไหร่ที่เราไม่ชัดเจน จุดนี้.. แต่ละอาการไม่ชัดเจน สภาวะเราการปฏิบัติของเราก็จะวน ไปไม่ถูก มีนะ.. ส่วนใหญ่แล้วไปไม่ถูก เมื่อไม่ชัดในตัวเองแล้วเนี่ย มันจะวน เดี๋ยวจะไป.. อ้าว..พอถึงจุดนี้จะไป ยังไงดี ? ก็จะวนกลับมาที่เดิมอีก จะวนเวียน.. วนเวียน.. กว่าที่จะหาทาง ไปได้
เมื่อไหร่ที่รู้ชัดว่าขณะนี้กาลังดูอะไร กาหนดอะไร เมื่อมันวนปุ๊บ จะรู้ ว่าทาไมถึงวน จะเริ่มจากจุดไหน ตรงนี้จะหาทางแก้ได้ง่ายมาก ๆ การแก้ สภาวะไม่ยาก ถ้านักปฏิบัติรู้ชัดว่าตัวเองกาลังกาหนดอะไรอยู่ ดูอะไรอยู่ แล้วสภาวะขณะนั้นเป็นอย่างไร รู้ชัดในตัวเอง และต้องรับรองด้วยก็อย่าง