Page 354 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 354
336
ที่บอก เรารับรองตัวเองได้ว่าว่างจริง ๆ ไม่ใช่คิด เบาก็เบาจริง ๆ ไม่ได้ คิดเอา และที่เห็นอาการเกิดดับก็เห็นจริง ๆ อย่างที่บอกเห็นเสียงเนี่ย ก็เห็นจริง ๆ ว่าเสียงมีลักษณะอย่างนี้ เป็นกลุ่มก้อนก็เห็นเป็นกลุ่มก้อน บอกได้เลยว่าเสียงมีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นวง ๆ วงแวบขึ้นมา แล้ว ก็วงกว้างออก แวบขึ้นมา กว้างออก
สังเกตอีกนิดหนึ่ง ขณะที่เราบางครั้งนิ่งในความว่าง... กลับมาที่เดิม นะ กลับมาที่เดิม แต่เราไม่รู้หรอก ขณะที่อยู่ในความว่าง บางครั้งเนี่ยนิ่ง ๆ อยู่ เหมือนหยดน้าตกลงไปในน้า แล้วก็มีอาการกระเพื่อม ๆ เคยเจอไหม ? เคยเจอนะ พอว่างนี่เจอแน่นอน ใครที่เข้าถึงความว่างตรงนี้จะเจอทุกคน มันจะมีอาการหยดนิด เหมือนกับหยดปึ๊บแล้วก็กระเพื่อม ๆ หยดแล้วก็ กระเพื่อม การสังเกตรายละเอียดจะทาให้สติเรามีกาลังมากขึ้น ให้สังเกต ขณะที่กระเพื่อม คลื่นที่กระเพื่อมออกไป เขาติดต่อกัน หรือว่ามีช่องว่าง ? กระเพื่อมแล้วดับ กระเพื่อมแล้วดับ ? ตรงนี้คือสังเกตรายละเอียดมากขึ้น ถ้าเรารู้แค่ว่ากระเพื่อมกว้างเฉย ๆ มันก็จะไปเรื่อย ๆ ยังไม่ละเอียดเท่ากับ ว่าในขณะที่พอเคลื่อนปั๊บ เขามีช่องว่างที่ขาด ขาด ขาด ขาด แล้วก็สิ้นสุดไป หรือเปล่า ? ตรงนี้ต้องสังเกตนะ วิธีที่จะพิจารณาสภาวะให้ละเอียดขึ้น ตรงนี้คือวิธีพิจารณาสภาวะให้ละเอียดขึ้น
หลังจากนี้สภาวะก็จะรู้สึก.. ต่อจากนี้สภาพจิตจะไม่ค่อยดี สภาพจิต จะไม่ค่อยดี จึงบอกว่าถ้าสภาพจิตเรารู้สึกว่าห่อเหี่ยว แห้งแล้ง หดหู่ ไม่ต้องตกใจ ให้สังเกตว่าอาการที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ที่ไหน อยู่ในที่ว่าง ๆ หรืออยู่ ที่ตัวเรา ? บางคนถึงขนาดร้องไห้นะ สภาวะเขาเรียกเบื่อโลก เบื่อโลกต่อไป ก็จะแสวงนิพพาน ไปยึดนิพพานมาเป็นอารมณ์ จะแสวงนิพพานเอานิพพาน มาเป็นอารมณ์ ไม่รู้หรอกนะหน้าตานิพพานเป็นยังไง วิธีกาหนดก็คือ หนึ่ง.. ต้องไม่มีตัวตน หลัก ๆ ให้จิตเราต้องไม่มีตัวตน ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นเรา ให้อาการนั้นตั้งอยู่ในความว่าง แล้วก็สังเกตว่าขณะที่มีความรู้สึกอย่างนั้น