Page 360 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 360
342
บรรยากาศไหน ขึ้นสู่ความรู้สึกประเภทไหน อารมณ์นั้น ต้องเป็นสิ่งที่ เราเคยเจอมาแล้ว อีกอย่างหนึ่งการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์วิตก วิจารณ์ปิติ.. วิตก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจารณ์ เกาะเกี่ยวอยู่กับอารมณ์ ใช่ไหม ? วิจารณ์ เคล้าคลึงกับอารมณ์ ไม่ใช่นั่งวิจารณ์อันนั้นดีไม่ดี จิตเราเกาะติด รู้การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์นั้นไป ตรงนี้เขาเรียกวิตก วิจารณ์ แล้วก็ ปิติจะเกิดก็เกิด ไม่เกิดก็ไม่เกิด ถ้าเกิดปิติก็จะเกิดเอง สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นมา แต่การพิจารณาอาการเกิดดับต้องยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ให้เกาะติด กับอาการนั้น
อย่างที่บอกวิธีการเจริญปัญญาคือ น้อมจิตเข้าไปในอาการ ตรงนี้คือ การยกจิตขึ้นสู่อาการ ขึ้นสู่อารมณ์อันนั้น พร้อมกับสังเกตว่าเขาเปลี่ยน แปลงอย่างไร หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา วิปัสสนา คือการรู้ความแตกต่าง รู้การเปลี่ยนแปลงของเขา รู้อาการพระไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้นอาการพระไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งที่เกิดข้ึนเฉพาะหน้า เราเท่านั้นถึงจะเห็น สภาวะอาการพระไตรลักษณ์ที่ละเอียดถึงจะเป็นตัว ทาให้กิเลสของเราเบาบางลงได้ จิตเราผ่องใสขึ้นได้ จิตเราจะผ่องใสยิ่งขึ้น ก็เพราะการเห็นอาการเกิดดับของรูปนามที่เป็นอารมณ์ปัจจุบันนั่นเอง ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบันเท่านั้น เพราะฉะนั้นการกาหนดรู้อาการเกิดดับที่เป็น อารมณ์ปัจจุบันจึงเป็นสิ่งสาคัญในหลักของการเจริญวิปัสสนา เพราะฉะนั้น อารมณ์ปัจจุบันไม่ใช่แค่รู้ว่าฉันรู้ รู้ว่าทาอะไร
อารมณ์ปัจจุบันมีสองส่วน ส่วนหนึ่งก็คือรู้ว่ากาลังทาอะไรอยู่ กาลัง นั่งอยู่ กาลังพูดอยู่ กาลังคุยอยู่ กาลังทางาน กาลังเดิน กาลังนอน อันนี้ ส่วนหนึ่งนะ แต่อาการที่เป็นปัจจุบันที่มีรายละเอียดมากขึ้นก็คือว่า ขณะที่ เดิน อาการเดินนั้นเกิดดับอย่างไร ตรงนี้ล่ะคือเป็นปัจจุบันขณะเล็ก ขณะที่ เราพูด คาพูดแต่ละคาออกไปมีลักษณะอย่างไร ? พูดจากตรงไหน ? คาพูด ที่ออกมาเนี่ย จากตรงไหน ? ออกมาจากที่ไหน ? ตรงนี้ยังละเอียดขึ้นนะ