Page 369 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 369

351
ถ้าเราไม่แน่ใจว่าเราสามารถเอาจิตออกนอกกายได้หรือเปล่า โดยธรรมชาติของคนเรา หรือธรรมชาติของจิตนั้น เมื่อเรามุ่งไปที่ไหนหรือ สนใจที่อาการไหน จิตก็จะไปที่นั่น อย่างเช่นเราสนใจเสียง จิตก็จะไปที่เสียง สนใจที่บ้าน จิตก็จะไปที่บ้าน ลองสังเกตดี ๆ เพราะฉะนั้นเมื่อเราสนใจ อยู่ข้างหน้า จิตก็จะไปที่ข้างหน้า เพียงแต่ว่าให้เราสังเกตว่า จิตที่อยู่ข้างหน้า รู้สึกอย่างไร ?
คาว่ารู้สึกอย่างไรนั้น ถ้าเราสังเกตถึงลักษณะของความรู้สึก ซึ่ง เป็นลักษณะของจิต เวลาจิตเรารู้สึกสบาย สบายใจ สังเกต.. จิตก็จะรู้สึก เบา โล่ง ว่าง หรือเบิกบาน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่ามีอารมณ์เข้ามากระทบ แล้วทาให้เกิดความไม่พอใจ เกิดความไม่สบายใจขึ้นมา จิตจะรู้สึกหนักทันที โดยที่เราไม่ต้องคิดอะไรเลย ความรู้สึกหนักหรือเบาเกิดขึ้นเองโดยสภาวะ ด้วยอาการของเขา เพราะฉะนั้นลักษณะอาการของจิตเราจะรู้ได้ในลักษณะ อย่างนี้ ถ้าสังเกตที่จิตก็จะรู้ว่าจิตมีอาการอย่างไรรู้สึกอย่างไร เป็นความรู้สึก จริง ๆ โดยที่เราไม่ต้องคิดว่า อันนี้เรียกว่าว่างหรือเปล่า ? อันนี้เรียกว่า ทุกข์หรือเปล่า ? ถ้าเกิดขึ้นมาแล้วจะรู้สึกจริง ๆ รู้สึกทันที
นี่ก็เช่นกัน เมื่อเราน้อมจิตมาข้างหน้าในที่ว่าง ๆ สังเกตจิตที่อยู่ ในที่ว่างรู้สึกอย่างไร ? ถ้ารู้สึกเบา ขณะที่รู้สึกเบา.. ลองดูนะ.. ถ้ารู้สึกเบา ให้ขยายจิตที่เบานั้นให้กว้างไม่มีขอบเขต กว้างเท่ากับอาคาร กว้างเท่ากับ ห้อง กว้างออกไปกว้างกว่าอาคาร กว้างเท่ากับท้องฟ้า การดูจิตก็คือเมื่อ จติ เรากวา้ งไมม่ ขี อบเขตแลว้ ทา ใหส้ ภาพจติ ใจเรารสู้ กึ เปน็ อยา่ งไร ? จติ ทกี่ วา้ ง ออกไปนั้นให้ความรู้สึกเป็นอย่างไร ? รู้สึกเบามากขึ้น เบายิ่งขึ้น โล่งมากขึ้น สงบมากขึ้น หรือ เป็นอย่างไร ? อันนี้เป็นการพิจารณาดูจิตในจิต
การรู้จิตในจิตก็คือ ดูจิตเบา จิตโล่ง จิตโปร่ง จิตว่าง จิตสงบจิตหนัก อึดอัด ขุ่นมัว เศร้าหมอง นั่นคือลักษณะการดูจิต ถ้าจะให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น แม้ แต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ ก็ต้องรู้ด้วยว่ามีลักษณะอย่างไร ? แต่ในชั้นนี้ให้รู้ถึงว่า


































































































   367   368   369   370   371