Page 370 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 370

352
ขณะที่จิตเรากว้างไม่มีขอบเขต ให้ความรู้สึกเป็นอย่างไร ? ถ้ารู้สึกเบา ลองสังเกตดูนะถ้าจิตรู้สึกเบา สังเกตดูว่าจิตที่เบากับตัวที่นั่งอยู่ เป็นส่วน เดียวกันหรือคนละส่วนกัน ? จิตที่เบากับตัวที่นั่งอยู่เป็นส่วนเดียวกันหรือ คนละส่วนกัน ? การที่พิจารณาอย่างนี้ไม่จาเป็นต้องให้จิตกลับเข้ามาที่ตัว หรือให้เล็กเท่ากับตัว พิจารณาด้วยจิตที่รู้กว้างนั่นแหละ จิตที่กว้างไม่มี ขอบเขตนั่นแหละ สังเกตว่าจิตที่เบาที่กว้างกับตัวที่นั่งอยู่ เป็นส่วนเดียวกัน หรือคนละส่วน ?
ใครที่รู้สึกว่าเห็นเป็นคนละส่วนกัน ต่อไปให้สังเกต ให้ทาอย่างนี้นะ ฝึกการย้ายจิต ให้เอาจิตที่เบามาไว้ที่มือ เอาจิตที่เบามาที่มือแล้ว สังเกตว่า ที่มือรู้สึกอย่างไร ? รู้สึกหนักหรือเบา ? จากนั้นก็ย้ายจิตที่เบาไปที่แขน แล้วก็สังเกตว่าเมื่อจิตที่เบาไปที่แขน ที่แขนรู้สึกอย่างไร ? รู้สึกหนัก ? รู้สึกเบา ? มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่าง ? ไม่ต้องรีบก็ได้นะ ช้า ๆ ถ้าทาไม่ทันก็ ทาซ้า ทาซ้าได้ไม่เป็นไร นั่นเป็นการฝึกย้ายจิต การที่เราสามารถแยกรูปนาม หรือทาจิตให้ว่างได้แล้ว ต้องสามารถใช้จิตที่ว่างนั้นมารับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ได้ เราจะเป็นผู้ที่รับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ด้วยจิตที่ว่าง เพราะฉะนั้นการฝึกย้ายจิต ก็เหมือนการฝึกเอาจิตที่ว่างมารับรู้อารมณ์ จิตที่ว่างที่กว้างไม่มีขอบเขต ต่อ ไปก็กลายเป็นตัวสติ
เมื่อเอาจิตที่เบาว่างมาที่แขนได้ ต่อไปให้เอาจิตที่เบาว่างไปที่สมอง จิตที่เบาว่างเข้าไปที่สมอง ไม่ต้องให้มีรูปร่างสมอง ครอบคลุม ล็อคเอาไว้ ให้จิตที่ว่างเบาเข้าไปและสามารถทะลุสมองได้ เอาจิตที่เบาว่างไปที่ไหนก็ได้ ให้จิตที่เบาว่างทะลุสมองเข้าไป แล้วสังเกตว่าที่สมองรู้สึกอย่างไร ? รู้สึก ตื้อ ๆ หนัก ๆ หรือว่าโล่ง ๆ โปร่ง ๆ ? เพราะเวลาเราคิดสิ่งต่าง ๆ มีความคิด เข้ามาเยอะแยะมากมาย เราจะรู้สึกว่าความคิดเหล่านั้นจะมารวมอยู่ที่สมอง อยู่ที่ส่วนบนที่ศีรษะของเรา จะรู้สึกทาให้ส่วนสมองของเรารู้สึกหนัก ตื้อ ตึง ไม่ปลอดโปร่ง ถ้าเอาจิตที่โล่งว่างเข้าไป สมองเรารู้สึกเป็นอย่างไร ? ตาแหน่ง


































































































   368   369   370   371   372