Page 371 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 371
353
นี้ส่วนหนึ่งที่ทาให้เราเกิดความรู้สึกหนัก ความทุกข์ที่เกิดขึ้นเกิดจากเรื่องที่ ทาให้เราเครียดต่าง ๆ ก็มารวมอยู่ตรงนี้จุดหนึ่ง
อีกที่หนึ่งก็คือบริเวณหทยวัตถุคือบริเวณหัวใจ จากคอถึงลิ้นปี่ เวลา เกิดอารมณ์เข้ามา มีผัสสะเกิดขึ้น เกิดความรู้สึกไม่พอใจ ความหนักจะ ปรากฏชัดบริเวณหทยวัตถุ เพราะฉะนั้นเราลองย้ายจิตที่ว่างเบาไปที่ บริเวณหทยวัตถุแล้วลองสังเกตดูว่า เมื่อเอาความรู้สึกที่ว่างเบาเข้าไป บริเวณ หทยวัตถุรู้สึกอย่างไร ? ยังรู้สึกหนัก ๆ ตื้อ ๆ ตึง ๆ หรือว่าง ๆ ? ถ้ารู้สึกว่า เอาความรู้สึกหรือเอาจิตที่เบาเข้าไปแล้วรู้สึกว่าโล่ง ๆ กลวง ๆ ให้ขยายความ รู้สึกที่โล่งเบานั้นให้กว้างกว่ารูป กว้างกว่าตัว ปล่อยให้กว้างออกไปอีกทีหนึ่ง จากตอนแรกที่เราเอาความรู้สึกมาไว้ข้างนอกแล้วขยายให้กว้างไม่มีขอบเขต ตอนนี้ให้ขยายจากภายใน ปล่อย.. ขยายความรู้สึกที่โล่ง ๆ ให้กว้างออกไป ไม่มีขอบเขต อีกทีหนึ่ง แล้วลองดูว่ารู้สึกอย่างไร ?
การฝึกทาจิตให้ว่างให้กว้าง การขยายจิตให้กว้างนั้นเพื่อประโยชน์ ในการใช้งาน เวลาเราคิด ขณะที่เราคิด โดยธรรมชาติคนเราเมื่อคิดก็จะ มีมโนภาพเกิดขึ้น คิดถึงคนก็จะมีภาพคน คิดถึงอาคารก็จะมีภาพอาคาร คิดถึงวัตถุสิ่งไหนก็ตาม ก็จะมีภาพเหล่านั้นปรากฏขึ้นมาในความรู้สึก หรือ ที่ใจของเรา เมื่อปรากฏขึ้นมาแล้ว อารมณ์ที่ปรากฏเข้ามาในใจหรือในความ รู้สึกนั้น เมื่อไหร่ก็ตามถ้าจิตไม่มีกาลัง เมื่ออารมณ์นั้นเกิดขึ้นก็จะทาให้มี รสชาติ เกิดความรู้สึก ถ้าเป็นอารมณ์ไม่ดีก็จะเกิดความรู้สึกหนัก อึดอัด ไม่สบายใจ ขุ่นมัว หงุดหงิด ราคาญใจ
ทีนี้เมื่อเราสามารถขยายจิตเราให้กว้างได้แล้ว ให้ลองดู คิดถึงอะไร ก็ตาม ให้จิตกว้างกว่าเรื่องที่คิด ทุกเรื่องที่คิด ไม่เว้นแม้แต่เรื่องที่ทาให้เรา ไม่สบายใจ ทุก ๆ ความคิดที่เกิดขึ้น ให้จิตหรือให้ความรู้สึกที่ว่างเบากว้าง กว่าเรื่องเหล่านั้น แล้วสังเกตดูว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่จิตกว้างกว่าเรื่องที่คิด จิตใจรู้สึกอย่างไร ? เพื่อให้ชัด การนึกถึงอารมณ์หรือเรื่องราวที่ทาให้เราไม่