Page 373 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 373

355
เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป ไม่มีอะไรเลยที่ตั้งเที่ยงแท้แน่นอนถาวร มีแต่มาแล้วหมด มีแต่มาแล้วหมด มีแต่มาแล้วดับไป เกิดขึ้นแล้วดับไป ตามกาลเวลา ตามกาลังของเขา แต่ที่ไม่ดับเพราะเราไปยึดหรือปฏิเสธ เรา ปฏิเสธความทุกข์ เราไปยึดความสุข พอยึดไม่อยู่เราก็ทุกข์อีก การยึดก็ทาให้ ทุกข์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุดก็คือมีสติกาหนดรู้อยู่กับปัจจุบัน
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เมื่อพิจารณาดูเมื่อจิตเราว่าง กว้าง ไม่มี ขอบเขต ไม่มีประมาณ รู้สึกเบา ให้สังเกตว่าจิตที่ว่างเบาบอกว่าเป็นเรา หรือเปล่า ? จิตที่ว่างเบาบอกว่าเป็นเราหรือเปล่า หรือแค่รู้สึกว่าง ๆ เบา ๆ โล่ง ๆ ? หลังจากนั้นให้ย้อนกลับมาดูที่ตัวที่นั่งอยู่ ขณะที่จิตเบา ว่าง โล่ง โปร่ง ตัวที่นั่งอยู่รู้สึกอย่างไร ? ตัวที่นั่งอยู่รู้สึกหนักหรือเบา ? และตัวที่นั่ง อยู่บอกว่าเป็นใครหรือเปล่า ? บอกว่าเป็นเราหรือเปล่า ? หรือว่าเหมือนกับ เป็นเพียงสิ่ง ๆ หนึ่งที่ตั้งอยู่เท่านั้น ? อันนี้ให้พิจารณานะ สังเกตดูเราอาจ เข้าใจ เราสรุปได้ว่า ท่านตรัสไว้ว่าไม่มีอะไรเป็นของเรา แต่ถ้ารู้ว่าไม่มีอะไร เป็นของเราแล้วรูปยังหนัก ใจยังหนักอยู่ เป็นเพียงความเข้าใจเท่านั้น ไม่ สามารถละการยึดติดหรืออุปาทานในรูปนามนั้นได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่เห็นว่า กายกับใจเป็นคนละส่วนกันจริง ๆ จิตจะอิสระ นั่นคือการคลายอุปาทาน
ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางทวารทั้งหกล้วนแล้วต้องมารวมอยู่ที่จิต จิตทาหน้าที่รับรู้ จิตทาหน้าที่เป็นผู้เสวยอารมณ์อันนั้น และจิตก็เป็นผู้ทุกข์ เอง เพราะฉะนั้นจะทุกข์หรือไม่ก็อยู่ที่จิตของเรา จะกาหนดรู้อย่างไร ? ให้ พิจารณาไป กาหนดรู้อย่างนี้แล้วย้ายจิตได้ ที่นี้เมื่อสามารถย้ายจิตได้แล้ว ให้จิตกว้างกว่าตัวได้ ขณะที่เรานั่งหลับตาอยู่นี้ ถ้ามีอาการของลมหายใจชัด ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นที่จมูกหรือที่ท้องก็ตาม ให้มีสติตามกาหนดรู้อาการ เคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงของเขาไป ใครที่เห็นว่าเมื่อหลับตาแล้วมีสีมี แสงเกิดขึ้นข้างหน้า มีอาการเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ก็ให้มีสติตามกาหนดรู้ การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ที่เกิดขึ้นข้างหน้านั้น ตามรู้ให้ชัด แต่ไม่ใช่


































































































   371   372   373   374   375