Page 376 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 376
358
ขณะที่ทางาน.. ก่อนที่จะไปทางาน ทาจิตให้ว่าง เอาจิตที่ว่างเบาไป ใช้กับงาน ขณะที่นั่งรถ เอาจิตที่ว่างคลุมรถคลุมตัวเรา ขับเข้าไปในความว่าง พอถึงที่ทางาน ให้จิตที่ว่างนาหน้า จิตที่เบาโล่งว่างนาหน้าเรา ตรงนี้คือการ เอาจิตที่ว่างมาใช้งานบ่อย ๆ ใช้บ่อยเท่าไหร่ เขาก็อยู่นานเท่านั้น เมื่อไหร่ที่ เราไม่ใช้ เขาก็หายไป ยิ่งเป็นนามธรรมด้วยแล้วหายเร็ว พอมีอารมณ์ กระทบปุ๊บ เขาก็หายแล้ว มีอารมณ์หนัก ๆ เข้ามากระทบ..ตกใจ ใจก็หลุดไป หายไป แต่ถ้าเราเอาจิตที่ว่างรู้ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น อย่าให้รู้ใกล้ตัว ถ้าจิต อยู่ใกล้ตัวเมื่อไหร่จะตกใจง่าย
อย่างเช่นขณะที่เราเห็นดอกไม้ ถ้าเอาจิตที่ว่างมาที่ดอกไม้ สังเกตดู นะภาพที่เห็นตั้งอยู่ที่ไหน ? ตั้งอยู่บนโต๊ะหรือตั้งอยู่ในที่ว่าง ๆ ? ภาพที่เห็น รู้สึกหนักหรือเบา ? เบาใช่ไหม ? นี่แหละอารมณ์เหล่านี้จะไม่เข้าไปที่ใจ แต่รู้ ชัดว่าเป็นสีอะไร สวยไม่สวย แต่ไม่มีผลกับจิตใจเรา ไม่ทาให้จิตใจเราขุ่นมัว หรือเศร้าหมอง ไม่เกี่ยวกับความชอบหรือไม่ชอบแต่เห็นชัดเจนว่าเป็น คนละส่วนกันระหว่างจิตกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น
เพราะอารมณ์เหล่านี้ตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่ มีอาการครบ ๓๒ เราต้องรับรู้เป็นปรกติ ปฏิเสธไม่รู้ไม่ได้ ตาดีก็มีการเห็นเป็นธรรมดา สายตา ยังดีก็เห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามา ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี หูที่ดีก็ได้ยินทุกเสียงที่เกิด ขึ้น ที่ผ่านเข้ามาทั้งดีและไม่ดี ลิ้น.. ประสาทลิ้นยังดีก็สามารถได้รสเปรี้ยว หวานมันเค็ม รู้หมด กายสัมผัส รู้เย็นร้อนอ่อนแข็งเคร่งตึง รับรู้ตลอด เพราะ การสัมผัสเรารู้สึกได้ ลมสัมผัสปะทะรูป เราก็รู้สึกว่ามีลมสัมผัส แสงแดด กระทบรูป ก็รู้สึกว่ามีความร้อนเข้ามากระทบ แต่อารมณ์เหล่านั้นถ้าเราใช้จิต ที่ว่างเบาเป็นผู้รับรู้ อารมณ์เหล่านั้นจะไม่บีบคั้นจิตใจของเราให้เศร้าหมอง หรือเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้นนี่เราใช้จิตที่ว่างรับรู้ ใช้จิตที่เบารับรู้ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิด ขึ้น จิตที่เบาตรงนี้ที่บอกว่ากลายเป็นตัวสติ ถ้าสติเราแคบกว่าตัว อารมณ์