Page 386 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 386

368
เรากเ็พลดิ เพลนิ เคลบิ เคลมิ้ ไปกบั ความคดิ ขณะทเี่ราตามความคดิ ลมหายใจ ก็หายไป ไม่รู้สึกว่ามีลมหายใจ นั่นคือสติอ่อน ไม่ใช่มันหายไปจริง ๆ แต่ถ้า รู้ชัด รู้ชัดเมื่อไหร่ ถ้าหายจริง ๆ เราจะรู้ชัด ลมหายใจหายไปแล้ว ผลที่ตาม มารู้สึกเป็นยังไง มันว่างไป เงียบไป สงบไป หรือโล่งไป รู้สึกได้
ถา้ มคี วามคดิ ขนึ้ มาแลว้ ลมหายใจไมช่ ดั ใหต้ ามความคดิ แทน รอู้ าการ เกิดดับของความคิดแทน ไม่ปฏิเสธ ไม่พยายามยึดลมหายใจเอาไว้ เพราะ ความคิดเป็นอารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นในขณะนั้นจริง ๆ ถ้าเราพยายามยึด เอาลมหายใจ เขาเรียกพยายามยึดอดีต ทั้ง ๆ ที่ลมหายใจไม่ชัดแล้ว ความ คิดชัดกว่า ซึ่งเป็นอารมณ์อธิบดี อารมณ์ที่ชัดที่สุดในขณะนั้น ให้รู้ความคิด แต่ถ้าพอเริ่มมีความคิด ความปวดก็เกิดขึ้น ความปวดกับความคิดอาศัยกัน บางทีพอเริ่มปวดก็เริ่มคิดแล้ว พอเริ่มปวดทายังไงดี เริ่มกระสับกระส่าย ถ้า เป็นอย่างนั้น ต้องดับความกระสับกระส่ายก่อน แล้วไปดูความไม่เที่ยงของ ความปวด
ทาไมถึงให้ดับอาการกระสับกระส่าย ? เพราะอาการกระสับกระส่าย ขณะนั้นชัดกว่าความปวดเสียอีก ความไม่พอใจ ไม่ชอบใจในความปวดที่เกิด ขึ้น ทาให้จิตเราไม่นิ่ง ไม่มั่นคง จิตจะซัดส่ายหรือฟุ้งซ่าน เกิดความราคาญ เกิดขึ้น ราคาญในเวทนาที่เกิดขึ้น วิธีก็คือ เข้าไปรู้ความไม่สงบ อาการซัดส่าย นั่นแหละก่อน เพราะอันนั้นชัดที่สุดในความรู้สึกเรา จิตเราไปเกาะเกี่ยว ไปรู้ สิ่งนั้นอยู่ ดังนั้นกาหนดรู้ถึงความไม่เที่ยงของอารมณ์ ถ้าเรามีสติรู้ชัด เดี๋ยว เขาก็เปลี่ยน ดูการเปลี่ยน การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป รู้การเกิดขึ้น ตั้ง อยู่ ดับไป กับสภาวะนั้น ๆ หลักง่าย ๆ
ลองดูนะ.. สัก ๓๐ นาที แล้วค่อยถาม ถ้าไม่ถามอาจารย์ อาจารย์ก็ จะถามโยม เราปฏิบัติพร้อมกัน อาจารย์อาจจะไม่ใช้เสียงบรรยายมากนัก ให้ เน้นภาคปฏิบัติ ให้รู้จิตตัวเอง รู้อาการที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าจริง ๆ รู้อารมณ์ ปัจจุบันจริง ๆ ว่าเป็นอย่างไร


































































































   384   385   386   387   388