Page 390 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 390

372
เหมือนเรานั่ง ขณะที่นั่ง ปวด.. ปวด.. แต่ไม่มีเราเป็นผู้ปวด ใช่ไหม ? ไม่กล้ารับรอง ไม่กล้ารับรองเพราะอะไร ? บางทีเราเผลอ พอปวดปุ๊บ รู้สึกว่า เราปวด พอมีเราปุ๊บ มันก็จะแรงขึ้นมา พอเราหายไป ก็เริ่มเบาลง เริ่มกัดฟัน ขึ้นมา มีเราขึ้นมาอีก ก็ชัดขึ้นมาอีก ความมีตัวตนไม่ใช่เกิดแล้วตั้งตลอด เวลา ความไม่มีตัวตนก็ไม่ใช่ตั้งอยู่ตลอดเวลา อยู่ที่ว่าปัญญาเราเกิดขณะ ไหน เมื่อเรามีสติกาหนดรู้ มีปัญญาเกิดขึ้น ความมีตัวตนก็หายไป เมื่อไหร่ ที่เราเผลอเข้าไปมีอุปาทาน ไปยึดติด ความเป็นเราก็กลับเข้ามา
ความรู้สึกว่าเป็นคน เป็นเรา เป็นเขา เกิดขึ้นตอนที่เราเผลอ ตอน ที่เราไม่ได้รู้ตามความเป็นจริง เขาเรียกว่า “รู้แบบบัญญัติ” รู้แบบสมมติ สมมติบัญญัติ สมมติสัจจะ ความจริงโดยสมมติว่าเป็นเรา เป็นเขา แต่ไม่ได้ รู้ด้วยปรมัตถสัจจะ ความจริงที่เป็นจริง ๆ ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า รูปนามอัน นี้ไม่มีอะไรเป็นของเรา “ สักแต่ว่า ” รูปสักแต่ว่ารูป นามสักแต่ว่านาม ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เห็นไหม.. เมื่อเราเพิกความรู้สึก ละบัญญัติตรงนี้ จิตก็จะเบา อิสระ แค่นั้นเอง เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่มีตัวตนขึ้นมา เราก็จะรู้สึก ว่าต้องรับ เป็นผู้เสวยอารมณ์
เพราะฉะนั้นวิธีก็คือ ดับตัวตนให้เร็ว เมื่อเรายังมีกิเลสอยู่ เราไม่ สามารถที่จะละได้ทันที หรือไม่ให้เขาเกิดขึ้นได้ อันนี้เป็นความจริงอย่างหนึ่ง เป็นตัวบอกเราว่าเรายังมีกิเลสอยู่ แต่ไม่ใช่ว่ามีกิเลสแล้วเราละไม่ได้ ถึงแม้มี กิเลส เรารู้วิธีละ เราก็ละได้ อายุอารมณ์ก็สั้นลงได้ ความทุกข์ก็บางลง น้อย ลงได้อนันนั้นะ่สงิ่สาคญั จนกวา่กเิลสเราจะหมดไปนนั่แหละถา้ไมอ่ยากทกุข์ กับร่างกายอีก ก็ไม่ต้องเกิดแล้ว ไม่ต้องเกิด


































































































   388   389   390   391   392