Page 393 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 393

375
สนใจในลักษณะของความไม่เที่ยง หรือการเกิดดับ ดังนั้นเมื่อเราไม่สนใจอาการเกิดดับของความคิด ก็จะเห็นว่าความ
คิดต่อเนื่องเป็นสาย ไม่ขาดสาย จากเรื่องหนึ่งไปอีกเรื่องหนึ่ง จะไม่มีช่อง ว่างระหว่างความคิด เมื่อไม่มีช่องว่างระหว่างความคิด จิตที่เข้าไปปรุงแต่ง ในความคดิ นนั้ กเิ ลสกเ็ กดิ ขนึ้ ตรงนนั้ แหละ ปรงุ แตง่ เทา่ ไหรก่ จ็ ะยาวไปเรอื่ ย ๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราพอใจ หรือมีเจตนาที่จะไปรู้ว่า ความคิดเกิดขึ้นแล้วดับ อย่างไร นั่นหมายถึงว่าเห็นธรรมชาติของความคิดจริง ๆ เห็นเข้ามาแล้วก็ ดับ จิตจะไม่ปรุงแต่งต่อ เกิดขึ้นแล้วก็ดับ เห็นความไม่เที่ยงของความคิด รู้ ว่าเป็นความคิดที่เป็นกุศล ก็รู้ชัดว่าเป็นกุศล เป็นอกุศล ก็รู้ชัดว่าเป็นอกุศล
ไม่ว่าจะเป็นกุศล หรืออกุศลที่เกิดขึ้น ถ้าเรามีสติ มีจิตที่พร้อมที่จะ รับรู้ว่าเขาเกิดดับอย่างไร ก็จะไม่ปรุงแต่งจิตเราให้เกิดความเป็นอกุศลตาม ความคิด หรืออกุศลนั้นไม่สามารถปรุงแต่งจิตเราได้ แค่เป็นผู้รู้ เขาก็จะดับ ไป จบไป แต่ละขณะ แต่ละขณะ จิตดวงนี้ จิตที่ทาหน้าที่รู้ ก็จะเป็นจิตที่ว่าง หรือมีใจรู้ที่ตื่นตัวอยู่ ไม่เศร้าหมอง ถึงแม้จะมีความคิดเกิดขึ้นเยอะแยะ จิตเองก็จะสามารถสงบได้ เพราะฉะนั้นถึงให้รู้ถึงลักษณะความไม่เที่ยงของ ความคิดที่เกิดขึ้นมา
ตรงนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณ ไม่เที่ยง แต่ที่เราเห็นก็คือมีจิตดวงเดียวทาหน้าที่รับรู้ตลอด ไม่เห็นความไม่ เที่ยงของจิตที่ทาหน้าที่รู้ หรือตัววิญญาณเอง ความคิดที่เข้ามา เราก็จะรู้สึก ว่ามันต่อเนื่องไม่ขาดสาย เพราะเราไม่มีเจตนาที่จะไปรู้อาการเกิดดับของ ความคิด แต่จะไปรู้ว่าคิดอะไรเป็นส่วนใหญ่ คิดเรื่องโน้นคิดเรื่องนี้ รู้เรื่อง ราวมากกว่าที่จะไปรู้ถึงลักษณะการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อันนี้อยู่ที่เจตนา ถ้าเราไม่มีเจตนาที่จะรู้ เขาก็จะไปเรื่อย ๆ เรามีเจตนาที่จะดู ก็จะเห็นชัดว่า เขาเป็นอย่างไร ตามความเป็นจริง
รู้เพื่ออะไร ? เพื่อที่จะให้คลายจากอุปาทาน ไม่มีความยินดี พอใจ


































































































   391   392   393   394   395