Page 397 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 397
379
โดยธรรมชาติ จิตก็ย้ายที่อยู่แล้ว แต่ถ้าเราไม่เห็น เขาก็ย้ายตาม อารมณ์ ย้ายตามอานาจของอารมณ์ภายนอกที่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทาง หู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือทางใจก็ตาม เมื่อได้ยินเสียง จิตก็จะไปรู้ เสียง เห็นภาพ จิตก็จะไปที่ภาพ เวลามีความคิดขึ้นมา มีมโนภาพต่าง ๆ ขึ้น มา เวลาเราคิด จิตก็เหมือนไม่ได้อยู่กับตัว ไปอยู่ที่เรื่องราวนั้น ๆ ถ้าไม่เห็น จิตตัวเอง ไม่เห็นความเป็นคนละส่วนระหว่างจิตหรือความรู้สึก กับมโนภาพ ที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นการรับรู้อย่างไม่มีสติ หรือแค่รู้ ไม่รู้ว่าจิตกับอารมณ์เหล่า นั้นเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน
การที่เรามาพิจารณากาหนดรู้ถึงความรู้สึกกับอารมณ์ต่าง ๆ ถึง ความเป็นคนละส่วนกันบ่อย ๆ จะทาให้เกิดความชานาญ แล้วเราจะได้ เห็นความเป็นจริงของรูปนาม ว่ารูปกับนามเป็นคนละส่วนกัน ไม่ใช่เป็นอัน เดียวกัน รูปก็คือรูป นามก็คือนาม รูปไม่ใช่กิเลส แต่เป็นที่อาศัยของกิเลส เป็นเหตุให้เกิดกิเลสได้ จิตหรือนามเป็นทั้งตัวกิเลสเอง และเป็นทั้งที่อาศัย ของกิเลส
การที่เรารู้ทันรู้จิตของเราว่าเป็นอย่างไร เราสามารถทาจิตของเราให้ ว่าง ให้เบา ให้โล่ง ให้สงบได้ เวลามีอารมณ์เข้ามา จิตว่างรู้ว่าว่าง จิตหนัก ก็รู้ว่าหนัก จิตเบารู้ว่าเบา จิตขุ่นมัวก็รู้ว่าขุ่นมัว เป็นการดูจิตในจิต จิตเศร้า หมองก็รู้ว่าเศร้าหมอง การแยกรูปนาม การรู้ถึงความเป็นคนละส่วน เมื่อ ไหร่ที่รู้ถึงความเป็นคนละส่วน นั่นคือการรู้ด้วยปัญญา เห็นตามความเป็น จริง ตามสภาพที่เป็นจริงของรูปนามว่า “ไม่มีอะไร”
สังเกตดู.. เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเห็นความรู้สึกหรือจิต กับรูปเป็นคนละ ส่วนกัน จิตจะรู้สึกว่างเบา แล้วจิตที่ว่างเบาถ้าเราพิจารณาอีก ก็จะเห็นว่าแม้ จิตที่ว่างเบาเองก็ไม่บอกว่าเป็นเรา เมื่อจิตว่างเบา เมื่อกลับมาพิจารณาดูรูป ก็ จะเห็นว่ารูปก็เบาด้วย เมื่อเห็นเป็นคนละส่วนกัน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เรากลับมา ดูแล้วความรู้สึกกับรูปเป็นอันเดียวกัน เป็นส่วนเดียวกัน ก็จะไม่เบา พอออก