Page 399 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 399

381
ก็ตามที่เรามีเจตนาที่จะรู้ถึงความเป็นคนละส่วนแต่ละขณะ แต่ละขณะ จะ ทาให้ความรู้สึกหรือความรู้ของเรา ยิ่งรู้ชัดยิ่งขึ้น ยิ่งใสขึ้น มีกาลังมากขึ้น รู้ ตามความเป็นจริงมากขึ้นว่า รูปนาม ความรู้สึกกับอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นคนละส่วนกันจริง ๆ เป็นสมุจเฉท ไม่เป็นอันเดียวกัน ตัดขาดกันอย่าง สิ้นเชิง เพียงแต่ว่าเมื่อไหร่ที่เผลอสติหรือสติอ่อน ไม่พิจารณา ก็จะเห็นว่า ความรู้สึกกับอารมณ์เหล่านั้นเป็นส่วนเดียวกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่ความรู้สึก กับอารมณ์เป็นส่วนเดียวกัน ก็จะเป็นที่อาศัยของกิเลส เป็นที่อาศัยของ อกุศลต่าง ๆ
อกุศลไม่สามารถอาศัยความเป็นอนัตตาเกิดได้ จิตที่เป็นอกุศล ที่ เกิดกับจิตเรานะ ไม่ใช่อกุศลภายนอก จิตที่เป็นอกุศลไม่สามารถเกิดขึ้นได้ใน ขณะที่จิตเราเป็นอนัตตา เห็นความไม่มีตัวตน เพราะความไม่มีตัวตน ความ เป็นอนัตตา นั่นคือกุศล จิตที่เป็นมหากุศลจิต เป็นมหัคคตจิต ทาไมถึงว่า อย่างนั้น ? ขณะที่จิตเราไม่มีตัวตน เราสามารถพิจารณาดูได้ว่า เข้าไปรู้จิต ที่ว่างที่ไม่มีตัวตนนั่นแหละ พิจารณาเข้าไปลึกแค่ไหนก็ได้ เข้าไปรู้ในจิตที่ ว่าง ที่เบา ลึก ๆ แล้วเนี่ย มีอกุศลอันไหนเกิดได้บ้าง หรือยิ่งดูยิ่งว่าง ยิ่งดู ยิ่งใส ยิ่งดูยิ่งเบา
นี่คือวิธีการพิจารณาดูจิตในจิตอีกทีหนึ่ง รู้ ดูอาการ พิจารณาพิสูจน์ ด้วยตัวเอง ไม่ใช่คิด ไม่ใช่ปรุงแต่ง แต่เข้าไปรู้ เข้าไปดู เหมือนวิทยาศาสตร์ เหมือนเป็นการทาวิจัย ไม่ใช่คิดว่าน่าจะเป็น น่าจะอย่างนั้น น่าจะอย่างนี้ แต่ รู้ให้ชัดว่าขณะนี้เป็นอย่างไร ยิ่งรู้เข้าไป เขาเป็นอย่างไร สว่างขึ้น เบาขึ้น หรือ หนักอึ้งขึ้นมา นี่คือการดูจิต ไม่อย่างนั้นถ้าเราไม่รู้ให้ชัด ไม่เข้าไปรู้ให้ชัด ความสงสัยก็จะเกิดกับเราอยู่ร่าไปว่าจริงไหม ? ว่างจริงไหม ? สงบจริง ไหม ? เบาจริงไหม ? โล่งจริงหรือเปล่า ? จิตที่ว่าง ไม่มีตัวตน บริสุทธิ์จริง ไหม ? เราก็จะมีความสงสัย
แต่ถ้าเราเป็นผู้รู้ เราเข้าไปดูเอง เข้าไปรู้ให้ชัดว่าเป็นอย่างไร เข้าไป


































































































   397   398   399   400   401