Page 400 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 400
382
พิจารณาดู ตรงนี้เขาเรียกเป็น “ปัจจัตตัง” รู้ได้เฉพาะตน เป็นผู้รู้ก็รู้ได้ เฉพาะตน เห็นชัดด้วยตัวเอง รับรองตัวเอง ไม่ใช่คนอื่นรับรองเรา เรารับรอง ตนเองได้ว่า เมื่อเห็นสภาพอย่างนี้แล้ว สภาพจิตเราเป็นอย่างไร ไม่ให้เชื่อ ตาม ๆ กัน ไม่ใช่เพราะว่าอาจารย์บอกว่าดี ถึงเรียกว่าดี อาจารย์บอกไม่ดี ถึง เรียกว่าไม่ดี อาจารย์บอกว่าเบา เราก็เบา พออาจารย์บอกว่าหนัก เราก็หนัก ไม่ใช่ ! ที่อาจารย์พูด ให้เราเข้าไปพิจารณาดูจริง ๆ พิจารณาดูให้ชัด อย่ารู้ แบบเคลิ้ม ๆ เหมือนเป็นการท้าทายให้พิสูจน์ พิสูจน์ด้วยตัวเอง
ธรรมะเป็นเรื่องที่เราพิสูจน์ได้ ธรรมะที่เกิดขึ้นกับเรา สภาวธรรมที่ เกิดขึ้นกับเรา เราพิสูจน์ได้ เป็นอย่างนั้นจริงไหม ? รู้สึกอย่างนั้นจริงไหม ? แล้วที่ไม่เป็นอย่างนั้นเพราะอะไร ? ที่มันหนักขึ้นเพราะอะไร ? ที่มันเบาเพราะ อะไร ? อันนี้คือรู้เหตุรู้ผล ทาไมทาไม่ได้ ? บางครั้งทาแล้วรู้สึกเบา บางครั้ง ทาแล้วไม่เบา บางครั้งทาถูก บางครั้งทาไม่ถูก ที่ทาไม่ถูก ทาอย่างไร ? และ ที่ทาถูก ทาอย่างไร ? ที่ทาถูก ถูกแล้วผลจะตามมาอย่างไร ? อันนี้แหละเป็น ตวับอกเราว่าถา้ทาถกูสภาพจติเปน็อยา่งไรเอาอะไรเป็นบรรทดัฐานเอาอะไร เป็นตัววัด ?
ถ้าเรารู้เป้าหมายชัดเจนว่า การปล่อยวาง การละวาง การปล่อย วาง ไม่ว่าจะปล่อยวางความเป็นตัวตน ปล่อยวางจากอารมณ์ภายนอก หรือ ปล่อยวางจากกิเลส ปล่อยวางจากอารมณ์ต่าง ๆ สภาพจิตจะเป็นอย่างไร อันนี้ลองดูไม่ยาก เพราะคนเรามีการยึดกับอารมณ์ต่าง ๆ เป็นปกติ เวลา เรายึดติด สภาพจิตเราเป็นอย่างไร ? มันหนัก ๆ ตื้อ ๆ หน่วง ๆ ถ่วง ๆ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ตรงนี้เรารู้สึกได้เป็นปกติอยู่แล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราแยก รูปนาม เห็นความไม่มีตัวตน แล้วดูว่าสภาพจิตเราเป็นอย่างไร
ถ้าคลายจากการยึดติด ถ้าอุปาทานนั้นหายไป แสดงว่าเราทาถูกแล้ว ความมีตัวตนดับไป ความทุกข์หายไป เมื่อความทุกข์หายไป ความมีตัวตน หายไป อะไรจะเกิด ? ก็เหมือนเราไม่ต้องแบกของหนัก เราแบกของหนัก