Page 404 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 404

386
อารมณ์ที่เกิดขึ้น ก็เลยกลายเป็นอุเบกขา จิตวางเฉย ถ้าจิตวางเฉยอย่างนั้นดีไหม จิตที่เป็นอุเบกขา ? จะบอกว่าดีก็ดี ดี
ระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา แม้แต่ความเป็นอุเบกขา จิตที่ เป็นอุเบกขาก็ต้องรู้นะ จิตเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น อุเบกขาจิตก็ไม่ เที่ยงเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ว่า เดี๋ยวอุเบกขา เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ แม้แต่ความ เป็นอุเบกขาเองก็มีการเปลี่ยนแปลง ลองสังเกตดูนะ ถ้าเราเข้าไปรู้ความ ไม่มีอะไร ความวางเฉย จิตที่เฉย ๆ เองเขาก็มีการเปลี่ยนแปลง อาจจะใส ขึ้น สงบยิ่งขึ้น ตรงนั้นแหละ เบามากขึ้น นั่นคือลักษณะของการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ว่าเฉย ๆ อย่างเดียว เพราะธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา เกิดดับอยู่ตลอดเวลา จิตไม่แก่ก็ตรงนี้แหละ เกิดแล้วก็ดับทันที เกิดแล้วดับ รู้แล้วก็ดับ เป็นโอปปาติกะ ผุดขึ้นมาแล้วก็ดับไป ปรากฏขึ้นมา รู้แล้วก็ดับไป
แต่ที่เราเห็นแก่คือ แก่แต่รูป เพราะฉะนั้น ขณะที่เราปฏิบัติ ถ้าเรา สังเกตพิจารณาอย่างนี้ ไม่มีเลยที่คาว่าจะว่างจากอารมณ์ให้จิตได้ตามกาหนด รู้การเปลี่ยนแปลง รู้อาการพระไตรลักษณ์ ไม่ว่าอารมณ์ไหนเกิดขึ้นก็ตาม เรา ก็รู้ รู้ให้ชัด รู้การเกิดดับของอารมณ์เหล่านั้น รู้การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เหล่านั้น ว่าเกิดดับในลักษณะอย่างไร
การรถู้ งึ อาการพระไตรลกั ษณ์ รถู้ งึ อาการเกดิ ดบั นนั้ จะทา ใหจ้ ติ คลาย จากอุปาทาน เพราะธรรมชาติของจิตจะไม่ยึดติดกับความไม่เที่ยง “ไม่ยึดติด กับความไม่เที่ยง” อย่างเรามีอะไรเปลี่ยนบ่อย ๆ เราจะรู้สึกเบื่อหน่าย ราคาญ เดี๋ยวเปลี่ยน เดี๋ยวเปลี่ยน ยึดก็ไม่ได้ ก็จะรู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกเบื่อ
การรู้ถึงอาการเกิดดับของรูปนาม เห็นการเปลี่ยนแปลงมาก ๆ เห็น การเปลี่ยนแปลงมาก ๆ ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน ด้วยสติที่รู้ชัด เมื่อยึด ไม่ได้ ก็จะกลายเป็นเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูปนาม เบื่อหน่ายในขันธ์ อัน เป็นนิพพิทาญาณ คือเบื่อเพราะปัญญา ไม่ใช่เบื่อเพราะกิเลส เบื่อเพราะความ


































































































   402   403   404   405   406