Page 411 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 411

393
แสดงว่าเป็น “อารมณ์ปัจจุบัน” ที่เราต้องเข้าไปรู้ แต่บางคนหลับตา ชัดแต่ ลมหายใจเข้าหายใจออก แต่พยายามให้ชัดที่พองยุบ เพราะฉะนั้น ไม่ต้อง ไปบังคับ ให้มีสติตามรู้อาการของลมหายใจเข้าออก วิธีสังเกตก็คือว่า เมื่อ เรามีสติตามรู้อาการของลมหายใจเข้าออก ให้สังเกตว่าลมหายใจที่เข้าออก นั้นมีลักษณะอย่างไร หรือเกิดดับในลักษณะอย่างไร ไม่ต้องบังคับนะ ให้ หายใจตามปรกติสบาย ๆ มีสติตามรู้เท่านั้นเอง
อย่างเช่น เวลาเราหายใจเข้าไป ตามลมหายใจเข้าไป ว่าเป็นเส้นหรือ เป็นกลุ่ม ? ลงไป ไหลลงไป สุดที่ท้องแล้วก็ออกมา ถ้าเป็นอย่างนั้น ให้สังเกต ในกลุ่มหรือในเส้นนั้น เขาเป็นเส้นเดียวกันตลอด หรือเป็นฝอย ๆ หรือมี อาการสะดุด หรือเป็นคลื่น ? สังเกตรายละเอียดของลมหายใจเข้าไปอีก จะได้ไม่หลับ ดูการเปลี่ยนแปลงของลมหายใจ สติเราจะอยู่กับปัจจุบัน หายใจออกก็เช่นกัน เวลาเราหายใจออก เขาออกมาเป็นเส้นยาว ๆ หรือว่า เปน็ ฝอย ๆ หรอื เปน็ คลนื่ บาง ๆ เปน็ กระแสบาง ๆ ออกไป ? สงั เกตในลกั ษณะ อย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม เราจะไม่บังคับ แต่ให้รู้ชัดในอาการที่เขา เป็น ให้รู้ชัดในอาการที่เกิดขึ้น
ขณะที่มีเวทนาเกิดขึ้น อย่างเช่น เราดูลมหายใจไปสักพัก เกิดมี เวทนา มีความปวดขึ้นมา ให้สังเกตได้เลย วิธีสู้กับเวทนา วิธีกาหนดเวทนา อย่างหนึ่ง การที่เราจะกาหนดรู้เวทนา เพื่อไม่ให้จิตเราทรมาน หรือเป็นทุกข์ กับเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น ให้กาหนดรู้ถึง “ความเป็นคนละส่วน” ระหว่าง เวทนากับจิตที่ทาหน้าที่รู้ หรือ เวทนาที่เกิดขึ้นกับสติที่กาหนดรู้เวทนา สังเกต ง่าย ๆ ก็คือ ขณะที่มีความปวดเกิดขึ้นมา ให้สังเกตว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับ ความปวด เป็นอันเดียวกันหรือคนละส่วนกัน ? แต่ถ้าไม่มี ไม่ต้องไปหา ให้เรากาหนดรู้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ จริง ๆ เป็นยังไงก็ดู อย่างนั้น
ถ้ารู้สึกว่าว่าง ก็ให้ “รู้ชัด” ในความว่างนั้น ดูที่ “ความว่าง” แล้วก็


































































































   409   410   411   412   413