Page 413 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 413
395
ขณะที่เรานั่งสมาธิจัดเป็น “สภาวะ” จัดเป็น “อารมณ์กรรมฐาน” เมื่อเรามีสติเข้าไปกาหนดรู้อาการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับของ อารมณ์เหล่านั้น อารมณ์ใดเกิดขึ้นก็ตาม เมื่อมีสติเข้าไปกาหนดรู้การ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของอารมณ์เหล่านั้น อารมณ์เหล่านั้นก็จัดเป็น “อารมณ์กรรมฐาน” เพราะเป็น “ที่ตั้งของการเจริญสติ” เพราะฉะนั้น เวลา เราปฏิบัติธรรม เมื่อเราไม่ปฏิเสธอารมณ์ ไม่ว่าอารมณ์ไหนเกิดขึ้นมาก็ตาม เราก็มีสติเข้าไปกาหนดรู้ได้หมด มีสติอยู่กับอาการ อยู่กับปัจจุบัน และ
พร้อมที่จะรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา เมื่อพร้อมที่จะกาหนดรู้ หรือพอใจที่จะกาหนดรู้ อารมณ์เหล่านั้นก็ จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติของเรา เป็นเพียงอารมณ์อารมณ์หนึ่งที่ เกิดขึ้นให้เราเจริญกรรมฐานเท่านั้นเอง เกิดขึ้นมาเพื่อให้เราเจริญสติ ซึ่ง ธรรมชาติของคนเราอยู่แล้ว เป็นธรรมชาติของรูปนามขันธ์ ๕ อันนี้ที่เขา เกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เว้นไว้แต่ว่าเข้าฌานจริง ๆ เรา เข้าฌานหรือหลับ ที่ไม่มีความคิดรบกวน ไม่มีอารมณ์ให้จิตรับรู้ ช่วงที่จิต
ตกภวังค์
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เรายังตื่นอยู่ มีสติอยู่ ย่อมมีอารมณ์ต่าง ๆ มากมาย
เข้ามาให้เรารับรู้ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทาง กาย ทางใจ ก็ตาม แต่เมื่อเรานั่งหลับตาเจริญกรรมฐาน อารมณ์ทางตาก็ ดับไป เหลือแต่อารมณ์ทางหู ทางกายกับทางใจ ทางใจก็คือ ความคิด ความ สงบ ความใส ความสวา่ ง ความวา่ ง ความเบา ทางกายกม็ อี าการของลมหายใจ หรือความปวด ความเย็น ความร้อน อาการเคร่งตึง ที่อาศัยทางกายเราเกิด ทางหูก็คือ เสียงที่เราได้ยิน อาจจะเป็นเสียงคน เสียงอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นใน ขณะนั้น ที่เรารู้ชัด ก็ให้กาหนดอารมณ์
แต่ขณะที่เราตามรู้ลมหายใจ ก็ให้เอาลมหายใจนั้นเป็นอารมณ์หลัก ของจิต ตามรู้ลมหายใจอย่างเดียวเป็นหลักก่อน ตามรู้อาการเกิดดับของ