Page 414 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 414
396
ลมหายใจ เกิดอย่างไร ดับลักษณะอย่างไร ลมหายใจจะเบา จะช้า จะเร็ว ก็ตาม ให้รู้ชัดในสิ่งที่เขาเป็น เราจะไม่ไปบังคับ เร็วก็ให้รู้ชัดว่าเร็ว ช้าก็รู้ชัดว่า ช้า ยาวก็รู้ชัดว่ายาว สั้นก็รู้ชัดว่าสั้น รู้ตามที่เขาเป็น ไม่ไปบังคับ นั่นคือการ กาหนดรู้ธรรมชาติของรูปนามที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่เราต้องเพิ่มก็คือความตื่นตัว หรือสติของเรา ทาให้มีพลัง ทาให้สติของเรามีกาลังแก่กล้าขึ้น
การที่เราจะทาให้สติมีกาลังแก่กล้าขึ้นก็คือ การกาหนดอารมณ์ ให้ได้ปัจจุบัน ถ้าจิตเราเข้าไปในอาการเกิดดับ หรือเมื่อจิตเกาะติดอยู่กับ ลมหายใจ พิจารณาอาการเกิดดับของลมหายใจอยู่ ยิ่งเห็นการเปลี่ยนแปลง ของอาการเกิดดับที่มี “ความแตกต่าง” ชัดมากขึ้นเท่าไหร่ จิตก็จะนิ่งขึ้น ตื่นตัวมากขึ้น นั่นคือการกาหนดรู้อยู่กับปัจจุบัน การที่เรามีสติเข้าไปกาหนด รู้อาการเกิดดับ นั่นคือทาให้ “เกิดปัญญา” การมีเจตนาเข้าไปรู้อาการเกิด ดับของรูปนาม ปัญญาก็จะเกิดขึ้น รู้ถึงความไม่เที่ยงของรูปนาม ความเป็น อนัตตาของรูปนาม ความเป็นอนิจจังของรูปนาม ความเป็นทุกข์ เกิดขึ้นแล้ว ดับไป ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
เพราะฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นอุบายทาให้เราเกิดปัญญา เรารู้อาการ เกิดดับของรูปนามภายในของร่างกาย ของจิตใจเราในปัจจุบัน ซึ่งเป็น อารมณ์ขณะเล็ก และเราไม่ต้องไปหาจากภายนอก เอาจากภายในนี่แหละ ในกายยาววาหนาคืบอันนี้แหละ ที่เขาแสดงอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตลอดเวลา แสดงอาการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีปัญญาเราจะเข้าไปถึง อาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของรูปนามขันธ์ ๕ ของเรา แต่ถ้าเราไม่พิจารณา ให้ละเอียดให้ลึกซึ้งลงไป ไม่กาหนดรู้จริงๆ ก็จะไม่เห็นอาการเกิดดับ ของรูปนาม ถึงแม้เราจะเข้าใจว่ารูปนามนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้ว หายไป
เมื่อไหร่ก็ตาม ถ้าไม่เข้าไปรู้ถึงอาการเกิดดับของรูปนาม ในความ รู้สึกเราก็ยังยึดติดรูปนามอันนี้อยู่ ถึงรู้ว่าไม่ใช่ของเราแต่ก็ยังทุกข์กับรูปนาม