Page 417 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 417
399
เข้า ถ้าเป็นเส้นยาว ๆ เข้าไป ก็ตามเข้าไปให้สุด พอสุดแล้ว เขามีอาการดับ ไปก่อนไหมก่อนที่จะกลับออกมา ? พอออกมามันยาวหรือสั้น ก็ให้รู้ชัด ตามที่เป็น หรือว่าลมหายใจนั้นเป็นคลื่น ก็ให้รู้ถึงอาการที่เป็นคลื่นนั้น ถ้า ลมหายใจมีอาการสะดุด เป็นขณะ ขณะ ก็ให้เราตามกาหนดรู้อาการที่เขา เป็น โดยไม่ต้องบังคับ แต่ให้รู้ชัดในสิ่งที่กาลังเกิดขึ้น นั่นคือ ตามรู้อาการ เกิดดับที่เป็นปัจจุบันอยู่ขณะนี้ เดี๋ยวนี้
หน้าที่ของนักปฏิบัติ คือ ตามรู้อาการเกิดดับของรูปนาม ของกาย ของใจ ขณะที่เรากาหนดลมหายใจ ลมหายใจเป็น “อาการของรูป” จิตที่ทา หน้าที่รู้เป็น “นาม” เพราะฉะนั้น การตามกาหนดรู้อาการของรูปนามก็คือ ดู “ลมหายใจ” ดู “จิต” ที่ทาหน้าที่รู้ลมหายใจนั่นแหละ ทีนี้ “หลักของวิปัสสนา” การตามรู้อาการเหล่านั้น เราควรรู้ลักษณะอย่างไร ? เราควรตามรู้ “อาการ พระไตรลักษณ์” คาว่า “พระไตรลักษณ์” คือลักษณะของความไม่เที่ยงอย่าง หนึ่ง ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้อย่างหนึ่ง แล้วก็เราบังคับบัญชาไม่ได้ หรือ อีกอย่างหนึ่งคือ ความไม่มีตัวตน
เพราะฉะนั้น อาการของลมหายใจที่กาลังเปลี่ยนไป ดาเนินไปอยู่นี้ หน้าที่ของเรานักปฏิบัติ ก็คือ ตามรู้การเปลี่ยนแปลง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ของลมหายใจ แต่ไม่ใช่บังคับให้ลมหายใจเป็นอย่างนั้นตลอดเวลา อย่างเช่น พอลมหายใจยาว เราก็บังคับให้ลมหายใจยาวเท่ากันตลอด ทั้ง หายใจเข้าหายใจออก ไม่ต้องบังคับอย่างนั้น ให้รู้ชัดว่าขณะที่หายใจเข้า ถ้า มันยาวก็รู้ชัดว่ายาว ถ้าสั้นก็รู้ชัดว่าสั้น หายใจออก ถ้ายาวก็ให้รู้ชัดว่ามันยาว ถ้าสั้นก็ให้รู้ชัดว่ามันสั้น หรือถ้าขณะที่หายใจเข้า แล้วมีอาการสะดุด สะดุด สะดุด สะดุดแล้วก็หายไป ก็ให้รู้ชัดว่าเป็นอย่างนั้น ไม่ต้องบังคับให้เขาเป็น เส้นเดียวตลอดเวลา นั่นหมายถึงว่า เราตามกาหนดรู้ในสิ่งที่เขาเป็น ไม่ใช่ ทาให้เขาเป็น
เราตามรู้ธรรมชาติของลมหายใจที่กาลังมีการเปลี่ยนแปลง เขาเรียก