Page 418 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 418
400
ว่า “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป” หรือ “ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ที่ กาลังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในขณะนี้ เรารู้ธรรมชาติของรูปนาม ในสิ่ง ที่เขากาลังเป็นอยู่ ไม่ต้องไปปรุงแต่ง ไม่ต้องไปคิดไปสร้างให้เขาเป็น แต่ดู ในสิ่งที่เขาเป็น ทาไมถึงต้องกาหนดรู้ หรือดูในสิ่งที่เขากาลังเป็น ? เพราะ อาการของรูปนามที่กาลังเป็นอยู่นี้ เขากาลังประกาศสภาวธรรมให้เราเห็น ว่าเขาเป็นอย่างนี้ อย่างนี้นะ เขาก็เป็นไปตาม “เหตุปัจจัย” ของเขาอย่างนี้ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็หายไป
เรารู้ว่าทุกอย่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เรา “รู้” แล้ว แต่สิ่งสาคัญ อย่างหนึ่งคือ “ต้องเห็น” รู้แล้วต้องเห็นด้วยถึงจะดี เพราะเมื่อไหร่ได้เห็น ด้วยตัวเองว่า ความไม่เที่ยงมีลักษณะอย่างนี้ ความเป็นทุกข์มีลักษณะ อย่างนี้ ความเป็นอนัตตา หมายถึงว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้นเราบังคับเขาไม่ได้ เป็นยังไง เมื่อรู้จริง ๆ ว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น สภาวะที่เกิดขึ้นบังคับไม่ได้ ต่อไปเราก็จะไม่บังคับ เขาเรียก “ไม่มีความอยากให้เป็น” เมื่อไม่มีความ อยากให้เป็น จิตเราก็จะสงบ ส่วนมากเวลาเราปฏิบัติ นั่งสมาธิ แล้วเราก็ อยากให้สงบ พอเริ่มนั่ง ถ้าจิตไม่สงบ ก็จะรู้สึกหงุดหงิด ราคาญ ฟุ้งซ่าน ไม่สบายใจ ไม่ชอบ
อย่างที่บอกแล้ว อารมณ์หลัก ๆ ที่เกิดขึ้น ที่จิตเราต้องตามกาหนดรู้ ในขณะปฏิบัติก็คือ ๑. ลมหายใจเข้าออก ๒. อาการของเวทนา มีความ ปวด มีอาการชา อาการคัน เป็นต้น เมื่ออาการเหล่านี้เกิดขึ้น หน้าที่ของ นักปฏิบัติ คือ การตามรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเขา ไม่ใช่ไปบังคับ เพราะธรรมชาติของรูป ของเวทนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มันไม่เที่ยง” เมื่อ สภาวะเหล่านั้นไม่เที่ยง เราควรทาอย่างไร ?
แน่นอนเรารู้สึกว่าเรา “ไม่ต้องไปยึดติด” อีกอย่างก็คือ “ไม่ต้องไป บังคับ” เมื่อไม่เที่ยง ให้ตามรู้ความไม่เที่ยงของอารมณ์เหล่านั้น คือการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีอาการของ “ลมหายใจเข้าออก” มีอาการ “พองยุบ”