Page 420 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 420

402
ของเขาเอง แต่ถ้าเรายิ่งปฏิเสธ อารมณ์เหล่านั้นยิ่งรบกวนมากขึ้น ยิ่งเข้ามา เยอะขึ้น เพราะอะไร ? ทุกครั้งที่เราปฏิเสธอารมณ์ จิตเราก็จะมี “แรงต้าน” มีแรงต้านเพราะว่า “มีตัวตน” มีความเป็นเราเกิดขึ้น มีความไม่ชอบเกิดขึ้น ตรงไม่ชอบ นั่นเป็นกิเลสแล้ว มีความอยากเกิดขึ้น ตรงนั้นก็เป็นกิเลส แล้ว มี “ความอยาก” อยากให้สงบ อยากให้ความคิดหายไป หรือ “ไม่อยาก” ให้ความคิดเกิดขึ้นมา จัดเป็น “กิเลส”
แต่ถ้าเราพอใจที่จะกาหนดรู้อาการเกิดดับนั้น ๆ จะสังเกตเห็นว่า ไม่มีตัวตน ไม่มีเรา ไม่มีความอยาก มีแต่ “สติ” กับ “ปัญญา” ที่พิจารณา ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของอารมณ์เหล่านั้น พิจารณาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของความคิด พิจารณาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของแสงหรือสี ที่เกิดขึ้นข้างหน้าเรา พิจารณาดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของความปวด ของเวทนา ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าของเรา อาจจะเกิดที่ตัว ที่หลัง ที่หัวเข่า ที่ จุดกระทบพื้น ที่ไหนก็ตามที่ปรากฏขึ้นมา ให้มีสติกาหนดรู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
เ ว ท น า เ ป น็ ข อ ง ไ ม เ่ ท ยี ่ ง เ ก ดิ ข นึ ้ แ ล ว้ ด บั ไ ป ม แี ล ว้ ห า ย ไ ป ไ ป บ งั ค บั บ ญั ช า เขาไม่ได้ เมื่อปวดขึ้นมา บังคับให้ไม่ปวดไม่ได้ แต่อดทนได้ ถึงทนอย่างไร ก็ตาม เราก็ต้องรู้ว่าเป็นอย่างไร ความปวดคนเราก็ทนได้ไม่เท่ากัน แต่อย่าง หนึ่งที่เหมือนกันก็คือ เขาเกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป ไม่เที่ยง ตั้งอยู่ใน กฏของไตรลักษณ์ “ตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์” ก็คือ ตั้งอยู่ในกฎของ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะฉะนั้น เมื่อเราพอใจที่จะกาหนด รู้อาการเกิดดับที่ปรากฎขึ้นอยู่ต่อหน้าเรา จะทาให้เรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน จริง ๆ ทาให้จิตเราตื่นตัว ไม่มีการปรุงแต่ง รู้ในสิ่งที่เขากาลังเป็น
อาการลมหายใจยาวก็รู้ว่ายาว สั้นก็รู้ว่าสั้น ลมหายใจเร็วก็รู้ว่าเร็ว ลมหายใจช้าก็รู้ว่าช้า ถ้าเป็นพองยุบ เป็นอาการเคลื่อนไหวที่ท้อง ก็เอาจิตไป รู้อาการเคลื่อนไหวที่ท้อง ยาวก็รู้ว่ายาว ขยายกว้างไกลแค่ไหนก็ให้รู้ชัด


































































































   418   419   420   421   422