Page 419 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 419
401
แล้วก็มี “เวทนา” ความปวด อีกอย่างหนึ่งก็คือ “ความคิด” ขณะที่เรานั่ง บางครั้งมีความคิดเข้ามาเยอะแยะ ให้เราได้รู้ ถ้าเราปฏิเสธความคิด จิตเรา ก็จะฟุ้งซ่านอีก จะไม่สงบ อีกอย่างหนึ่งก็คือ อาการของ “สี แสง หรือ นิมิต” ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่เรานั่งปฏิบัติ ๔ อย่างนี้จะเกิดขึ้นแน่นอน
ในอารมณ์ ๔ อย่างนี้ ไม่ว่าอารมณ์ไหนเกิดขึ้นก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น ลมหายใจ อาการพองยุบ หรือเป็นความปวด เป็นเวทนา เป็นอาการคัน เกิดขึ้น หรือมีความคิดเกิดขึ้น หรือมีสีแสงเกิดขึ้น หน้าที่ของผู้ปฏิบัติคือ ตามกาหนดรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของเขา โดยที่ไม่ต้องไปปฏิเสธ เพราะการปฏิเสธหรือการเลือกอารมณ์ บางครั้งทาให้เราเกิดความฟุ้งซ่าน อย่างเช่นตัวอย่าง บางทีพอมีเวทนาเกิดขึ้นมาก ๆ แล้วเราก็จะรู้สึกไม่ค่อย สงบ แล้วก็ปฏิเสธเวทนานั้น ทนไม่ได้ เกิดความราคาญเวทนา ตรงนี้ทาให้ จิตฟุ้งซ่าน แต่ถ้าเราพอใจที่จะ กาหนดรู้อาการเกิดดับของเวทนา จิตก็จะ ตื่นตัว เป็นการตื่นตัวที่ทาให้สติเรามีกาลังมากขึ้น ตามรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเวทนา ของความปวด
ความคิดก็เช่นเดียวกัน พอเรานั่งปุ๊บ มีความคิดเกิดขึ้น กาหนด ลมหายใจไม่ได้เลย พอเริ่มหลับตาก็มีความคิดเข้ามาแล้ว ให้ “นิ่ง” แล้ว “ตามรู้” ความคิด ไม่ใช่ปฏิเสธความคิด ให้ “นิ่ง” แล้วคอยสังเกตว่า ความ คิดที่เข้ามา เข้ามาแล้วดับอย่างไร เกิดขึ้นแล้วหายไปอย่างไร ตรงนั้นแหละ เพราะเวลาเราคิดถึงเรื่องอะไร ก็จะมีมโนภาพขึ้นมา คิดถึงเรื่องคนก็จะ มีภาพคน คิดถึงเรื่องงานก็จะมีภาพงาน คิดถึงวัตถุก็จะมีภาพวัตถุนั้น ขึ้นมา เพราะฉะนั้น หน้าที่เราก็คือ กาหนดรู้ว่า ภาพหรือนิมิตที่เกิดขึ้นมา เกิดแล้วหายอย่างไร ภาพนี้ขึ้นมาหายอย่างไร ภาพนี้ขึ้นมาหายอย่างไร... โดย ไม่ต้องปฏิเสธ “ให้พอใจที่จะรู้”
ถ้าเราพอใจที่จะกาหนดรู้อาการเกิดดับของสภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะ หน้าเราเนือง ๆ ให้ต่อเนื่องบ่อย ๆ ไม่นานจิตก็จะสงบลง เขาจะจัดระเบียบ