Page 421 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 421
403
ให้กว้างไกลแค่นั้น ไม่ว่ายาวไกลออกไปจนสุดห้อง หรือทะลุออกไปข้างนอก ก็ให้รู้ชัดว่าไปไกลแค่ไหน ตามรู้ให้ตลอดจนอาการนั้นสิ้นสุดลงในแต่ละขณะ แต่ละขณะ
เพราะฉะนนั้ ขอใหเ้ ราทงั้ หลาย พจิ ารณาสภาวธรรมทเี่ กดิ ขนึ้ ขา้ งหนา้ ให้ชัด ตามกาหนดรู้ให้ชัด ถึงแม้อาการเหล่านั้นจะไม่ชัด ให้สติเรา ใจรู้ของ เรา “รู้ชัด” ถึงแม้ลมหายใจจะบาง จะเบา ก็ให้รู้ชัดว่าบาง รู้ชัดว่าเบา ให้รู้ชัด อย่างนั้น นั่นคือการที่เรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน บาง เบา จนหายไป ก็ให้รู้ชัด ว่าเขาหายไปลักษณะอย่างไร ลมหายใจค่อย ๆ บาง ค่อย ๆ เบา ค่อย ๆ จาง ๆ แล้วหายไป ก็ให้รู้ชัดว่าเป็นอย่างนั้น นี่คือวิธีการกาหนดสภาวะ นี่คือ หลักในการปฏิบัติวิปัสสนา
อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่เราปฏิบัติ นอกจากที่กล่าวมาทั้ง ๔ อารมณ์แล้ว มีอย่างอื่นอีกไหม ? มีนะ เขาเรียก “อารมณ์จร” อาจจะเป็น เสียงที่เกิดขึ้น ความเย็น ความร้อน ที่เข้ามากระทบผิวกาย สัมผัสกับตัวเรา หรือกลิ่นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ที่เราได้สัมผัส อารมณ์เหล่านั้นก็จัดเป็น “อารมณ์ กรรมฐาน” เหมือนกัน เมื่อเรามีเจตนาที่จะเข้าไปกาหนดรู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะฉะนั้น ทุก ๆ ขณะ ทุก ๆ เวลาที่เรามี “สติ” กาหนดรู้ถึงการเกิดดับของอารมณ์ที่เข้ามากระทบ นั่นคือ “การเจริญกรรมฐาน”
รู้ถึงอาการเกิดดับ เขาเรียก “รู้ถึงอาการพระไตรลักษณ์” รู้ถึงการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แค่เรา “พอใจ” ที่จะกาหนดรู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับ ไปของอารมณ์เหล่านั้น นั่นคือ “การเจริญกรรมฐาน” การเจริญสติเพื่อให้จิต เราคลายจากอุปาทาน คลายจากการยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ที่เข้ามากระทบ คลายจากการยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา คลาย จากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เราไม่ควรยึด คลายจากความยึดมั่นถือมั่นใน อารมณ์ที่ไม่เที่ยง รู้ชัดตามความเป็นจริงของสภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ว่า